Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


27/07/2010

full text ของจะนะ

อาจารย์ค่ะ ทางกลุ่มจะนะ ได้ส่ง full text ไปให้ใหม่แล้วน่ะค่ะ
ส่งไปเมลล์ที่อาจารย์ให้มาคือ pooktumviriyakul@yahoo.co.uk ค่ะ

Assignment 3

ถึงน้องๆ ปี5 ทุกคน

น้องๆคงสบายดีกันอยู่นะคะ จากการไปเยี่ยมเยียน ก็พอทราบว่าน้องๆได้ใช้ความพยายามระดับหนึ่งในการเก็บเกี่ยวความรู้จากรพช.และในปีนี้น้องๆหลายกลุ่มได้พยายามใช้วิชา EBM ในบริบทของ Primary care ได้ดีมาก สังเกตจากคำถามที่พวกเราตั้งขึ้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยใน primary care setting และการพยายามของน้องๆบางกลุ่มสามารถทำให้เราได้เรียนรู้ว่าแม้ว่าจะอยู่ไกลไปเป็นร้อยกิโลเมตรจากเขตเมืองหาดใหญ่ การอยู่ในชนบทก็ยังเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางคลินิกได้จากการสร้าง connection กันและกันนั่นเอง
 อาการเริ่มเย็นขึ้นและมีฝนตกทุกวัน ขอให้รักษาสุขภาพ นะคะ ใส่เสิ้อผ้าให้มิดชิดป้องกันยุง และไข้หวัดใหญ่ที่กำลังจะมาถึงเร็วนี้ด้วยกันทุกคนนะคะ

มีแนวทาง template การนำเสนองานของพี่ๆปี 6 อยู่มี่ web site http://www.cuphatyai.com/cup2009/ สามารถ load มาดูเป็นแนวทางได้ แต่สามารถปรับเปลี่ยนตามลักษณะของแต่ละกลุ่มได้ free style ค่ะ

Assignment 3 เป็นการนำเสนอรายกลุ่ม เป็นเรื่องเดี่ยวกับที่ส่ง assignment 2 ค่ะ มีตัวอย่างแนวทางให้คะแนนการนำเสนออยู่ในคู่มือนักศึกษา ลองศึกษากันดูนะคะ

21/07/2010

จากควนขนุนถึงเพื่อนๆปี 5

กลุ่มควนขนุนได้ส่ง full text ไปทางเมลล์ของเต๋า เต้ โอ๊ต จิ้ว ฝ้าย เอม ขอให้เพื่อนๆไปขอไฟล์จากบุคคลผู้ถูกเลือกเหล่านี้ด้วยนะ

20/07/2010

Assessment II กลุ่มจะนะ...นะจ๊ะ

Assignment II กลุ่มจะนะ...นะจ๊ะ
วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
นศพ.ชญาณี เก้าเอี้ยน รหัสนักศึกษา
4910310023
นศพ.ชนิดา ศักดิ์เพชร รหัสนักศึกษา
4910310028
นศพ.ทิพวดี สิทธิบุศย์ รหัสนักศึกษา
4910310059
นศพ.นวลไหม เอ่งฉ้วน รหัสนักศึกษา 491031074

นศพ.เปรียบดาว เพชรรัตน์ รหัสนักศึกษา 4910310095
นศพ.พิมพกานต์ ตันติธรรมวงศ์ รหัสนักศึกษา
4910310105
นศพ.สุภาพันธ์ ไถ่ทอง รหัสนักศึกษา 4910310159


CASE SCENARIO:ชายไทยคู่ อายุ 65 ปี
CC: หอบเหนื่อย 20 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล

PI: 20 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการหอบเหนื่อยขณะเดินจูงวัวไปกินหญ้า หลังจากนั่งพักแล้วรู้สึกดีขึ้นบ้าง ที่บ้านนอนราบไม่ได้ ต้องนอนหนุนหมอน 2 ใบ ลุกขึ้นมาหอบตอนกลางคืนเป็นบางครั้ง มักหอบเหนื่อยหลังจากทำงาน และมีอาการไอมานาน เป็นๆ หาย ๆ หลายปี มีเสมหะสีขาวใสตอนเช้า ไม่มีเลือดปน ไม่มีไข้ ปัสสาวะ อุจจาระปกติ

PH : Underlying disease : COPD 5 ปี

สูบใบจาก มานานกว่า 20 ปี วันละประมาณ 10 มวน ตอนนี้ลดเหลือวันละ 1-2 มวน

Social drinking

มีมารดาเป็นโรคเบาหวาน เสียชีวิตแล้ว

ปฎิเสธประวัติการแพ้ยา แพ้อาหาร

ปฎิเสธประวัติการใช้ยาต้มยาหม้อ ยาลูกกลอน

PE:

GA: A Thai man, look dyspnea

Vital signs: BT 37.2 C, HR 110 beats/min, RR 32/min, BP 125/80 mmHg
HEENT: Not pale conjunctivae, no icteric sclerae, assessory muscle used

Heart: Normal S1, S2, no murmur, Apex beat at 5th ICS at MCL, JVP not engorgement

Lung: crepitation both lungs
Abdomen: soft, not tender, no distention, no hepatosplenomegaly,Active bowel sound

Extremities: pitting edema 1+, pulse full ,capillary refill <>

Chest X-ray : perihilar infiltration

Question : ปกติแพทย์มักไม่ให้ β -blocker ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่มี COPD เนื่องจากกลัวว่าอาจเกิดผลข้างเคียงต่อทางเดินหายใจ ทางกลุ่มจึงสงสัยว่าการใช้ยา β -blocker มีผลต่อ mortality ของผู้ป่วย COPD อย่างไร (เพื่อที่อนาคตจะได้พิจารณาให้ยากลุ่ม β –blocker ในผู้ป่วย CHF ที่มีโรค COPD ร่วมด้วย)

ประเภทปัญหาทางคลินิก:Prognosis
Patient:Patient age > 45 years with U/D COPD
Intervention: β -blocker used
Comparison: no β-blocker used

Outcome: Mortality rate of patient

แนวทางการค้นหาข้อมูล:
web-base resources ที่เลือกใช้ ได้แก่ Pubmed
MeSH Database
คำหรือรูปแบบที่ใช้ในการค้นหา ได้แก่ "Adrenergic beta-Antagonists"[Mesh] AND "Pulmonary Disease, Chronic Obstructive"[Mesh]

Article ทั้งหมด: 102 article

Limit: only items with links to full text, Humans, English, Core clinical journals, Middle Aged + Aged: 45+ years, published in the last 5 years

จำนวน Articles ที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏ = 8 Articles

ชื่อ Article ที่เลือกอ่านเพื่อตอบปัญหาทางคลินิก: Blockers May Reduce Mortality and Risk of Exacerbations in Patients With Chronic Obstructive Pulmonary Disease.

ชื่อเรื่อง Blockers May Reduce Mortality and Risk of Exacerbations in Patients With Chronic Obstructive Pulmonary Disease,2010

ชื่อผู้แต่ง: Frans H. Rutten, MD, PhD; Nicolaas P. A. Zuithoff, MSc; Eelko Hak, MSc, PhD;

Diederick E. Grobbee, MD, PhD; Arno W. Hoes, MD, PhD

ชื่อวารสาร: ARCHIVES OF INTERNAL MEDICINE

Assignment II กลุ่ม โรงพยาบาลระโนด
วันอังคาร ที่ 20 กรกฎาคม 2553
สมาชิก
นาย ถิรวัฒน์ จิ้วผกานนท์ รหัส 4910310056
นาย ธนาวุฒิ ศรีสุข รหัส 4910310063
นาย นฤเทพ หนูชัยแก้ว รหัส 4910310073
นาย ปิยะโชค พรหมสุทธ์ รหัส 4910310093
นาย ศุภกิจ ธนาจิระศักดิ์ รหัส 4910310146
นาย อนันตชัย ใจสบาย รหัส 4910310163

Case : เด็กหญิง อายุ 1 ปี 4 เดือน

CC : ไข้และมีผื่นตามตัวมา 4 วันก่อนมาโรงพยาบาล

PI : 7 วันก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีไข้สูงๆ ต่ำๆ ตลอดทั้งวัน
ไอมีเสมหะสีขาว น้ำมูกใส ตาแดงแฉะตลอดทั้งวัน ซึมลง
4 วันก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยเริ่มมีผื่นแดงตามตัว เริ่มบริเวณหน้าอก
แล้วกระจายไปตามแขนขาและใบหน้า ในเวลา 3 วัน ยังมีไข้สูงอยู่
มีอาการไอมากขึ้น เสมหะขาว
1 วันก่อนมารพ ผู้ป่วยมีไข้สูง ไอมากขึ้น อาเจียนเป็นนมครั้งละ ครึ่งแก้ว 4 ครั้ง
ร่วมกับถ่ายอุจจาระเหลว และ มีอาการหายใจเร็ว เพลียมาก แม่กังวลว่าอาการจะรุนแรงจึงพามา รพ.

PH : ปฏิเสธโรคประจำตัว
ปฎิเสธการแพ้ยาหรือแพ้อาหาร

Well child care :Immunization
แรกคลอด BCG,HBV
2 เดือน OPV 1, DPT1,HBV2
5 เดือน OPV 2, DPT2,HBV3
9 เดือน OPV3,DPT3,HBV4 ( ไม่ได้ ฉีด Measles)

PE :V/S BT 38.9 ํc RR 50 /min PR 110 /min BP 100/60 mmHg O2 sat 92 %
GA look fatigue , tachypnea,
HEENT : mild pale, no jaundice, injected pharynx,bilateral conjunctival injection
Heart : normal s1 s2 , no murmur
Lungs : tachypnea , fine crepitation at Lt. lower lung , cough
Abdomen : soft, not tender, active bowel sound
Skin : generalized discrete erythematous maculopapular rash around body surface

Investigation
CXR : viral pneunonia

Diagnosis : measles with viral pneumonia and diarrhea complication

Treatment : รักษาแบบ supportive treatment และในวันที่ 3 หลังจาก admit มี complication เพิ่มเป็น acute otitismedia แล้วให้ การรักษาตามอาการต่อไป

คำถามทางคลินิก
จากกรณีศึกษา ในผู้ป่วยรายนี้วินิจฉัยเป็น measles ซึ่งเป็นโรคที่มีการ invole mucusa หลายตำแหน่งในร่างกายและมักทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา และจากความรู้พื้นฐานที่ว่า vitamin A ช่วยในการเปลี่ยนสภาพของ basal cells ของ respiratory tract, GI tract และ conjunctivaไปเป็น epithelium cell ซึ่งทำให้ epithelium ชุ่มชื้น ป้องกันการบุกรุกของเชื้อโีรค แต่ใน case นี้ แค่เีพียงรักษาแบบ supportive แล้วพบว่า มี complication ต่างๆตามมา จึงอยากรู้ว่าการให้วิตามิน A supplement จะสามารถช่วยลด complication , mobility,motality ได้จริงหรือไม่

P : ผู้ป่วยเด็กได้รับการวินิจฉัยเป็น measles
I : การให้ Vitamin A supplement
C : placebo
O : ลด complication , mobility, motality

ประเภทปัญหาทางคลินิก : therapy

แนวทางการค้นหาข้อมูล
Web-base resources ที่เลือกใช้ : Pubmed ,Mesh database
คำหรือรูปแบบที่ใช้ในการค้นหา :"Vitamin A"[Mesh] AND "Measles"[Mesh]
Article ทั้งหมด :122 article
Limit : only items with links to free full text, Humans, Meta-Analysis, Randomized Controlled Trial, English, published in the last 10 years
จำนวน article ที่เกี่ยวข้อง : 4 article
ชื่อ article ที่เลือกอ่านเพื่อตอบปัญหาทางคลินิก :Effectiveness of measles vaccination and vitamin A treatment
ชื่อผู้แต่ง : Christopher R Sudfeld1,*, Ann Marie Navar1,2 and Neal A Halsey1

1Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health, Department of International Health, Baltimore, MD, USA, 2Duke University School of Medicine, Durham, NC, USA.

*Corresponding author. Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health, Department of International Health, 615 North Wolfe St. Rm W5041, Baltimore, MD 21205, USA.

ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์ : International Journal of Epidemiology 2010 39(Supplement 1):i48-i55; doi:10.1093/ije/dyq021]

ปีที่ตีพิมพ์: 2010

Assignment II กลุ่มควนขนุนค่ะ^^

กลุ่มโรงพยาบาลควนขนุน
สมาชิกในกลุ่ม
นศพ. กัญญารัตน์ เลิศวาจา 4910310006
นศพ. ณัฐวดี เจียรกิจ 4910310046
นศพ. ปัตติยา กมลเจริญ 4910310092
นศพ. สิริวรรณ เจริญรูป 4910310153
นศพ. อรนิดา ชีวไมตรีวงศ์ 4910310168
นศพ. อ้อมอก บุณยนิตย์ 4910310170
นศพ. อุไรวรรณ แก้วนวล 4910310175


Case: หญิงไทยคู่ อายุ 40 ปี อาชีพทำสวนยางพารา มาพบแพทย์ที่ศูนย์สุขภาพชุมชน
CC: ไข้สูง 2 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล
PI: 2 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีไข้สูงตลอดทั้งวัน ไม่หนาวสั่น ไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูก ผู้ป่วยรู้สึกว่าขณะปัสสาวะมีอาการปัสสาวะแสบขัด และมีสีเข้มขึ้นไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่เบื่ออาหาร ไม่มีถ่ายเหลว
PH: ปฏิเสธประวัติโรคประจำตัวอื่นๆ
ปฏิเสธประวัติแพ้ยา/แพ้อาหาร
ปฏิเสธประวัติดื่มสุรา/สูบบุหรี่
ปฏิเสธประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
PE: BT 38.3 C, PR 84 /min, BP 110/72 mmHg, RR 18 /min
GA: Thai woman, good consciousness, well co-orperate
HEENT: not pale, no jaundice, no injected pharynx
Heart: normal S1S2, no murmur
Lung: normal breath sound, clear of both lungs
Abdomen: soft, not tender, active bowel sound, CVA not tender
Ext: no pitting edema
Imp: UTI


ประเด็นปัญหาทางคลินิก
เนื่องจากศูนย์สุขภาพชุมชนไม่สามารถตรวจ urinalysis ได้ มีเพียง urine dipstick อยากทราบว่า urine dipstick มีความแม่นยำมากน้อยเพียงใดในการวินิจฉัย UTI


ประเภทปัญหาทางคลินิก: Diagnosis
Patient: ผู้ป่วยที่สงสัย UTI
Intervention: urine dipstick test
Comparison: none
Outcome: accuracy of urine dipstick for diagnosis UTI


แนวทางการค้นหาข้อมูล:
-web-base resources : Pubmed
-search term : UTI dipstick
-Number of article :79
-Limits: Meta-analysis และ Randomized Controlled Trial ---->Number of the limited Article : 5

ชื่อ Article ที่เลือกอ่านเพื่อตอบปัญหาทางคลินิก
-ชื่อเรื่อง:(Review): The urine dipstick test useful to rule out infections. A meta-analysis of the accuracy.
-ชื่อผู้แต่ง: Devillé WL, Yzermans JC, van Duijn NP, Bezemer PD, van der Windt DA, Bouter LM.
-ชื่อวารสาร: BMC Urol. 2004 Jun 2;4:4.

Assignment II กลุ่มควนเนียงงงงง

กลุ่มควนเนียงงงงงง
1.นศพ.กัณณิกา อยู่มั่น 4910310007
2.นศพ.ชนานันท์ สุขกระจ่าง 4910310027
3.นศพ.ทัตตาภา อั้นเต้ง 4910310058
4.นศพ.ธัชพันธุ์ อึงรัตนากร 4910310065
5.นศพ.รัฐสภา ทิพย์พาวัลย์ 4910310124
6.นศพ.วศิน คัมภีระ 4910310137
7.นศพ.อิทธิชัย หังสพฤกษ์ 4910310173


Case
หญิงไทยคู่อายุ 62 ปี มิลำเนา อ.ควนเนียง จ.สงขลา
CC: ปวดหัวเข่าซ้ายมา 3 เดือน ก่อน มา รพ.
PI: 3 เดือน ก่อนมา รพ.ปวดเข่าซ้าย ปวดมากขณะยืนทำอาหาร และเวลานั่งยองๆล้างจาน มีเสียงดังกรุบๆในข้อ เวลาปวดมักจะใช้ยาบีบนวด อาการดีขึ้นบ้าง ไม่เคยมีอาการเข่าบวมแดง ลงน้ำหนักเข่าด้านซ้ายได้ไม่เต็มที่
1 เดือน ก่อน มา รพ.อาการปวดเข่าซ้ายเป็นมากขึ้น และเริ่มปวดเข่าด้านขวา เคยซื้อยา paracetamol มารับประทานเมื่อหยุดกินก็จะปวดขึ้นมาใหม่
2 วันก่อนมา รพ.ปวดมากขึ้นจึงมา รพ.
PH:ต้องยืนทำงานนานๆ วันละ ประมาณ 4 ชั่วโมง
ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร
PE:v/s BT 37.2 c,pulse 90/min,BP 130/80 mmHg,RR 20/min
GA:good consciousness
HEENT:not pale,no icteric sclera
Heart & lungs:WNL
Abdomen:soft,not tender ,no hepatosplenomegaly
Extremities:Genu varus,Lt.proximal muscle atrophy,motor power 5+all except Lt.thigh
Crepitus both knee joint&pain on motion

ควนเนียงขออธิบาย
เนื่องจากที่โพสต์ปัญหาทางคลินิก เรื่อง Chlorhexidine vs Povidone iodine ไปครั้งที่แล้วนั้น เป็นปัญหาที่น่าสนใจมาก แต่เนื่องจาก Trial ที่ หามานั้นเป็น RCT ซึ่งกลุ่มควนเนียงนั้นได้รับมอบหมายให้หา Meta-analysis จึงได้ทำการค้นหาปัญหาใหม่

ที่มา
เนื่องจาก อ้างอิงจากปัญหาในชุมชน ควนเนียงนั้น พบว่า มีหลากหลายปัญหามากที่น่าสนใจ อาทิเช่น DHF ที่ระบาดหนักอยู่ขณะนี้ ,osteoarthritis,การใช้ Antiseptic agent ที่ต่างกัน,ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอ่อนเพลียและ vertigo เป็นต้น
ในการ Search หาข้อมูลที่ เป็น Evidence-based นั้น ควรมี Group ของหลายๆปัญหา และ หลายๆ Key word เนื่องด้วยขอจำกัดในการหา Meta-analysis ที่เป็น Free full text
ทางกลุ่ม จึงขอนำเสนอ ปัญหาที่พบได้บ่อย ในเวชปฏิบัติของโรงพยาบาลควนเนียง ที่พบได้บ่อยๆคือ เราทราบกันดีอยู่แล้ว ว่า
First line therapy ของ Osteoarthritis คือ Acetaminophen แต่ ในทาง Practical เรามักจะพบว่า แพทย์มักจะสั่งจ่าย NSAIDs ให้ ซึ่งในการให้ยาใน ผู้ป่วย OA ซึ่งมักจะเป็นผู้สูงอายุ จึงอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
ดังนั้น จึงอยากทราบว่า NSAIDs กับ Paracetamol นั้นยาไหนดีกว่ากัน ในการรักษา ผู้ป่วย OA
P:ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น OA
I:NSAIDs
C:ผู้ป่วยที่ได้รับ Paracetamol
O:Clinical ของผู้ป่วย เช่น pain


วิธีการค้นหาข้อมูล
1.ตั้ง ปัญหาหลายๆปัญหา และหลายๆ Key word ก่อนเนื่องจากข้อจำกัดของการหาให้ได้ Free full text และเป็น Meta-analysis ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ
2.หาข้อมูลจาก Pub Med
3..ใช้ Key word คำว่า “NSAIDs” ”Osteoarthritis” ”Paracetamol” จะพบว่า มี paper ถึง 69 paper ที่เป็น free full text
4.Limits เพิ่มเติมโดยเลือก เฉพาะ Meta-analysis ที่ เป็น Free full text จะพบว่า มี paper ที่เกี่ยวข้องเหลือ เพียง 3 paper
5.โดย Meta-analysis ที่เราเลือกนั้น ชื่อ Article คือ
A comparison of the efficacy and safety of nonsteroidal antiinflammatory agents versus acetaminophen in the treatment of osteoarthritis: a meta-analysis. จะเห็นได้ว่า แม้ว่า ทางกลุ่มจะ ใช้คำว่า Paracetamol แต่ ก็สามารถได้ article เรื่องนี้ซึ่ง ใช้คำว่า Acetaminophen ได้
6.ผู้แต่ง Lee C, Straus WL, Balshaw R, Barlas S, Vogel S, Schnitzer TJ
7.ได้รับการตีพิมพ์ลงใน Arthrtis & Rheumatism(Arthritis care & Research) Vol.51 No.5 ใน October 15,2004 page746-754
8.free full text นั้นจะถูกส่งกระจายไปทุกหัวระแหง

การ load full text ที่ไม่ free

เนื่องจากกล่มจะนะได้เรื่อง prognosis ซึ่งหายากกกกก
พอได้เรื่องแล้วก็หา free full text ไม่ได้สักที หรือ text ที่หาได้ก็ไม่ตรงกับที่ต้องการ
อ่านจนตาเชื่อมกันมาหลายคืนแล้ว
ตอนนี้ทางกลุ่มได้แก้ไข โดยสอบถามร่นพี่
ซึ่งบอกว่าให้ลอง set proxy เป็นของ คณะแพทยศาสตร์ มอ.
ซึ่งเค้าจ่ายเบี้ยในการเข้าไปอ่าน text พวกนี้ให้อยู่แล้ว
เพื่อนๆลองทำดูน่ะ อาจไม่ได้ทุกอันแต่ก็ลองดูก่อน
ของกล่มเราตอนแรกไม่ได้ set load ไม่ได้ แต่พอ set ก็ โหลดได้อ่า
แต่ก็มีข้อจำกัดทำให้เข้าเวปอื่นๆจิปาถะไม่ค่อยได้
การ set ให้เข้าไปดูที่เวปนี้ละกัน

http://medinfo.psu.ac.th/cu/cu2/manual_proxy_external.htm

18/07/2010

อีกปัญหาที่พบบ่อยในการsearch pub med

น้องๆ กลุ่มควนขนุน

ทราบว่าน้องเจอPaper ที่สนใจแล้วแต่ไม่เจอ Full text ถึงแม้จะพยายามหาแบบ subscribe แล้วก็ตาม มีคำตอบดังนี้ค่ะ
  1. paper ดังกล่าวไม่มี full text จริงๆ สังเกตุได้จาก ตรง link out ข้างล่างจะไม่พบคำว่า Full text resource แต่จะมีแต่หัวข้อ medical ซึ่งแปลว่ามีแต่ การหัวข้อด้านคลินิกที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มี paper แบบ online นั่นคือต้องหาจาก paper แบบกระดาษ ตามห้องสมุดต่างที่รับ paper นั้น
                                       ภาพนี้บรรทัดล่างสุดแสดงให้เห็นทั้ง Full text resource และ medical แสดงว่ามี Full text ให้ link out ไปได้ค่ะ สามารถlink ที่ตรงจุดนี้หรือจะ link จาก logo มุมบนขวาก็ได้ค่ะ

วิธีที่ 2 ที่จะสังเกตได้ คือ บนมุมขวาบนจะไม่มี logo full text ให้เห็น (ภาพแรกมีให้เห็น 2 logo คือที่ Biomed central และ free full text ที่ pubmed central แต่ paper ในภาพที่สองจะ ไม่มีLogo full text)

paper นี้จะไม่มี Logo full text ให้เห็นค่ะ มีแต่ related article ไปเลย

สารทุกข์ สุกดิบ นศพ ปี5/2553

สวัสดี นศพ.ปี5 หาดใหญ่ทุกคน

เป็นเวลากว่า สัปดาห์แล้วนะที่ทุกคนได้ไปสัมผัสกับชีวิตนักศึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชน
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ ชีวิตความเป็นอยู่ปัจจัยสี่ของทุกคนคนเรียบร้อยและผ่านไปด้วยดี อย่างน้อยก็คงปรับตัวกันได้แล้ว

สิ่งที่อยากให้ทุกคนตระหนักก็คือ การเรียนในปี5 เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะต้องไปเจอเวชปฏิบัติจริงในช่วง extern ดังนั้น อย่าลืมลองศึกษาชีวิตประจำวันของพี่ๆstaff ที่รพช ที่เป็น role model ที่ดีเอาไว้นะคะ นอกจากนี้ในเรื่องการไปเยี่ยมบ้านก็จะได้สัมผัสกับชีวิตจริงในชนบทซึ่งเป็นเป้าหมายที่พวกเราเข้ามาเรียนแพทย์เพื่อจะนำกลับไปใช้ประโยชน์ที่นั่น การเป็นแพทย์ในรพช.จะมีความตื่นเต้น และมีคุณค่าเพียงใด คงต้องให้แต่ละกลุ่มช่วยกันเก็บเกี่ยวมาเล่าให้อาจารย์ฟังต่อไปนะคะ


มีปัญหาเรื่องใด สามารถติดต่อผ่านมาทาง blog หรือถ้ามีเรื่องด่วน โทรศัพท์หาอาจารย์ได้ทุกเวลาค่ะ

คติประจำวัน
'ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะมีลุ่มๆดอนๆบ้าง แต่ก็ทำให้การเรียนรู้นั้นคุ้มค่าและมีราคาค่ะ ; ) '

ปล.อย่าลืมส่งงานEBM นะคะ

07/07/2010

Assignment 1 ทิพวดี สิทธิบุศย์

Assignment 1
ผู้ป่วยชาย อายุ 28 ปี
c.c. คัดจมูกมากมา 1 วัน
P.I. 1 ว้นก่อนมาร.พ. มีอาการคัดจมูกมาก มีน้ำมูกใสเล็กน้อย ไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่เจ็บคอ รู้สึกหายใจไม่สะดวกจึงมาร.พ.
P.H. เป็นโรค allergic rhinitis ตังแต่ 10 ขวบ ต้องใช้ steroid พ่นจมูกมาประมาณ 2 ปี
ไม่มีประวัติแพ้ยาและอาหาร
PE good conscious
HEENT : not palr , no jaundice
nose : swelling , clearly discharge , purplish Inferior turbinate
Heart : normal s1.s2 , no murmur
Lung : Clear , normal breath sound
Ext. : no pitting edema

ปัญหาของผู้ป่วยรายนี้คือ มีอาการคัดจมูกเป็นประจำ ช่วงหลังอาการเป็นมากขึ้นต้องใช้ nasal steroid พ่นทุกวัน

การออกกำลังกายร่วมกับการใช้ยา cetirizine มีประสิทธิภาพในการรักษา Allergic rhinitis ดีกว่า การใช้ Cetirizine รักษา AR เพียงอย่างเดียว
1 Population : ผู้ป่วย AR (adult)
2. Intervention : การออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ร่วมกับการใช้ยา Cetirizine
3.Comparison : ผู้ป่วยที่ได้ยา Cetirizine เพียงอย่างเดียว
4.Outcome : อัตราการเกิด AR ในกลุ่มที่ออกกำลังกายและใช้ยา น้อยกว่าในกลุ่มที่ได้ยาเพียงอย่างเดียว



ผู้ป่วยชายไทย อายุ 65 ปี
c.c. มีอาการหอบเหนื่อยมากมา 4 ชม.ก่อนมาร.พ.
P.I. 4 ชม.ก่อนมาร.พ.รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น ต้องใช้แรงในการหายใจมาก เดินได้ประมาณ 4-5 ก้าว ไม่มีไข้ ไม่มีไอ ไม่มีเสมหะ
P.H. สูบบุหรี่วันละ 2 ซอง มา 20 ปี
เป็นโรคถุงลมโป่งพองมา 3 ปี
ไม่มีประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร
PE. Good consciousness
HEENT not pale , no jaundice
no central cyanosis
Heart : normal s1,s2 , no murmur
Lung : clear , decrease breath sound both lungs , hyperresonance on percussion both lungs
abdomen : soft ,not tender , no guarding
Ext. : no pittng edema

ปํญหาของผู้ป่วยรายนี้คือ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง



การวินิจฉัย COPD โดยการใช้ CAT Score มีความแม่นยำเพียงใดเมื่อเทียบกับการวินิจฉัย COPD โดยใช้ Gold criteria
1. population : ผู้ป่วย COPD
2. Intervention : การวินิจฉัย COPD โดยใช้ CAT score โดยการตอบคำถาม 8 ข้อ
3. Comparison : การวินิจฉ้ัย COPD โดยใช้ Gold criteria
4. Outcome : ผลการวินิจฉัย COPD ด้วย CAT score มี accuracy, senstivity and specificity ไม่แตกต่างจากการวินิจฉัยน COPD โดยการใช้ Gold criteria

06/07/2010

Assignment1 case2 นศพ.ศุภกฤต ธนาจิระศักดิ์

นศพ.ศุภกฤต ธนาจิระศักดิ์ 4910310146
Assignment1
Case2 (harm): เด็กหญิงไทย อายุ10ขวบ
C.C.: มีก้อนที่เต้านมมา1เดือน
PI: 1เดือนก่อนมาโรงพยาบาลรู้สึกมีก้อนที่เต้านม ก้อนโตทั่ว ไม่เจ็บ
PH:ปฎิเสธโรคประจำตัว
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร
ชอบกินไก่
PE:V/S-BT37.0,PR 72/min,RR 20/min,B.P. 100/70 mmHg
Brest : tanner stage 2
Other : WNL
ประเด็นปัญหาทางคลีนิก
ปัจจุบันเด็กเข้าสู่วัยหนุ่มสาวอย่างรวดเร็ว เชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารการกินที่รับประทานเข้าไป

Problem:การกินไก่เนื้อมีผลต่อการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปรกติหรือไม่
P:เด็กทั่วไปที่ยังไม่เข้าสู่วัยหนุ่มสาว
I:กินไก่เนื้อเป็นประจำ
C:กินไก่บ้าน ไม่กินไก่เนื้อ
O:เด็กเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วขึ้น

Assignment 1 :: นศพ. ณัฐวดี เจียระกิจ 4910310046

Case 2 หญิงไทยอายุ 22 ปี

CC : ขาบวม ท้องโต 7 วันก่อนมารพ.

PI :

1 เดือนก่อนมารพ. เริ่มมีอาการบวมที่หลังเท้าทั้ง 2 ข้าง บวมมากเมื่อนั่งห้อยเท้าหรือยืนนาน กดบุ๋มแต่ไม่เจ็บ

7 วันก่อนมารพ. เริ่มบวมที่หน้าแข้งทั้ง 2 ข้าง ตึงๆที่หน้าและหนังตา 2 ข้าง โดยเฉพาะเวลาตื่นนอน ไม่บวมที่อื่น ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม เป็นฟองมาก ไม่มีเลือดปน ไม่แสบขัด ไม่มีหอบเหนื่อยใดๆ นอนราบได้ ไม่เบื่ออาหาร น้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 kg ใน 1 เดือน วันนี้ขาบวมมากขึ้นจึงมา รพ.

PH :

no U/D

no food and drug allergy

ไม่มีปวดข้อ ไม่มีผื่นแพ้แดด ไม่มีผื่นตามหน้า ไม่มีผมร่วงผิดปกติ ไม่มีตัวเหลืองตาเหลือง

ปฏิเสธการใช้ยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน

ปฏิเสธการฉีดยาเข้าเส้น

ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์

ปฏิเสธโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว

ปฏิเสธประวัติอุบัติเหตุและการได้รับเลือด

ประจำเดือนครั้งสุดท้าย 29/06/53 มาเท่าเดิม

Personal history :

ปฏิเสธการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่

PE :

v/s BT 37.0ºc PR 80/min RR 22/min BP 100/70 BW 57 kg high 165 cm

GA : not pale , no jaundice

HEENT : mild puffy upper eye lids , no lymph node enlargement , no oral ulcer , no facial rash , no scar

Heart & Lung : normal

Abdomen : distension , no hepatosplenomegaly , shifting dullness + ve , fluid thrill +ve , no mass

Extremities : 2+ pitting edema of both pre-tibial area , no swelling of joint ,

CBC :

Hb 10 g/dl, Hct 35%, WBC 5000/mm3, N 65% , L30% , M 5%

Platelet : slight decreased

UA :

pH 6.0 , Sp.gr. 1.030 , Albumin 3+, glucose negative , Blood 1+,

WBC 5-10/HPF, RBC 3-5/HPF ,

many hyaline cast , few granular cast , few oval fat body

24-hour urine :

protein 4.0 g/day , creatinine 1.0 g/day

Blood chemistry :

BUN 12.0 mg/dl , serum creatinine 0.9 mg/dl

Na 137 , K 3.7 , Cl 102 , CO2 28 mEq/L

Serum albumin 2.0 g/dl ,globulin 3.2 g/dl

Serum calcium 8.4 mg/dl , phosphorus 3.0 mg/dl

Serum cholesterol 450 mg/dl , triglyceride 300 mg/dl

HDL 50 mg/dl

CXR : normal

Serology : ANA negative , anti-dsDNA negative

Stool examination : normal , no parasite , occult blood - negative

Dx. Nephrotic syndrome

Question : การให้ cytotoxic agent ร่วมกับ steroid สามารถป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของไตได้จริงหรือไม่

P : ผู้ป่วย nephrotic syndrome

I : cytotoxic agent

C : placebo

O : ป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของไตได้

Assignment 1 :: นศพ. ณัฐวดี เจียระกิจ 4910310046

Case 1 ชายไทยอายุ 40 ปี

CC : ไข้ 1 เดือนก่อนมารพ.

PI :

1 เดือนก่อนมารพ. เริ่มมีไข้ต่ำๆ มักไข้ช่วงเย็นๆค่ำๆ ไม่มีหนาวสั่น ร่วมกับมีอาการไอแห้งๆ เพลีย เบื่ออาหาร เหงื่อออกมากตอนกลางคืน น้ำหนักลดลง 7 kg ใน 1 เดือน ซื้อยากินเองอาการไม่ดีขึ้น

1 สัปดาห์ก่อนมารพ. รู้สึกเหนื่อยและเพลียมากขึ้น จึงมารพ.

PH :

no U/D

no food and drug allergy

ปฏิเสธใช้ยาใดเป็นประจำ

ปฏิเสธการฉีดยาเข้าเส้น

ปฏิเสธโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว

ปฏิเสธประวัติอุบัติเหตุและการได้รับเลือด

Personal history :

ดื่มเหล้า 1 ครั้งต่อเดือน ดื่มมา 20 ปี ดื่มครั้งละ 2-3 แก้ว

สูบบุหรี่ 5 มวนต่อวัน สูบมา 20 ปี

PE :

v/s BT 38.1ºc PR 90/min RR 24/min BP 100/70 BW 45 kg high 160 cm

HEENT : mild pale , no jaundice , no lymph node enlargement , no oral ulcer

Lung : coarse crepitation both lower lung

Other : WNL

CXR : cavity lesion at both upper lung and reticulonodolar infiltration both lower lung

Anti HIV : negative

Dx. TB

Question : CXR มีความแม่นยำในการวินิจฉัย TB มากเท่าใดเมื่อเทียบกับ sputum culture

P : ผู้ป่วยวัณโรคปอด

I : CXR

C : Sputum culture

O : ความแม่นยำในการวินิจฉัย

Assignment1 Case2 นศพ.ปิยะโชค พรหมสุทธิ์ 4910310093

Case 2 (Diagnosis): ชายไทย อายุ 40 ปี อาชีพขับรถรับจ้าง
C.C.: ปวดหลัง 3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล
PI: 3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขาทั้ง 2 ข้าง
ปวดจะเป็นมากเวลานั่งนานเช่นนั่งขับรถนานจะปวด
โดยเฉพาะตอนลุกออกจากรถ ไอจามเบ่งมักปวดขึ้น
มีอาการชาที่ปลายเท้าร่วมด้วย กินยาแก้ปวดไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
PH:ปฏิเสธโรคประจำตัว
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร
ปฏิเสธประวัติอุบัติเหตุใดๆ

PE:V/S-BT36.1c,PR 80/min,RR 20/min,BP 120/80 mmHg
Extremities : loss L5-S1 both leg and foot
Straight leg raising test : positive
Other : WNL
ประเด็นปัญหาทางคลีนิก
ปัญหาปวดหลังร้าวลงขาเนื่องจากหมอนรองกระดูกทับเส้นเป็นปัญหาที่พบบ่อย
การวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะพบปัญหาได้ในผู้ที่ตรวจ Straight leg raising test ได้ผล positive
อาจพบได้ใน ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาและในโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่บริเวณสะโพกเช่นเดียวกัน
ทำให้วินิจฉัยผิดได้ แม้ว่าการรักษาจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่ก็ยังไม่ได้รักษาที่สาเหตุ การวินิจฉัย
หมอนรองกระดูกทับเส้นนั้นจะใช้ CT MRI หรืออาจใช้ spine x-ray ช่วยวินิจฉัย ซึ่ง Gold standard ในการวินิฉัยคือ MRI แต่มีราคาที่ค่อนข้างสูง และไม่อาจบอกถึงการกดทับของหมอนรองกระดูก จึงทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้

Problem : การทำ Straight leg raising test มีความแม่นยำมากเพียงใดเมื่อเทียบ Investigation ต่างๆ เช่น x-ray(spine) CT MRI

P: ผู้ป่วยที่เป็น หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
I: Straight leg raising test
C: Investigation ต่างๆ เช่น x-ray(spine) CT MRI
O: accuracy for diagnosis lumbar disc herniation

assignment 1 นศพ.ธนาวุฒิ ศรีสุข 4910310063

Case ที่ 1 ชายไทย คู่ อายุ 36 ปี
CC : ตาเหลืองมากขึ้นมา 5 วันก่อนมา รพ.
PI : Know caes alcoholic cirrhosis
1 เดือนก่อนมา รพ. รู้สึกอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อยลง ไม่มีอาการ ไข้ ปวดท้อง หรือมีคลื่นไส้อาเจียร ปัสสาวะ อุจจาระปกติ ไม่ได้สังเกตว่ามีอาการเหลืองหรือไม่ รู้สึกว่ามีไข้ต่ำตอนกลางคืน แต่ไม่เคยวันไข้
5 วันก่อนมารพ มีคนทักว่าตาเหลือง สังเกตุว่า ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม และยังมีอาการอ่อนเพลียมาก น้ำหนักลด 7 กิโลกรัมใน 1 เดือน ไม่มีอาเจียรเป็นเลือด หรือ อุจาระเป็นเลือดสด

PH: ปฎิเสธประวัติโรคประจำตัวใดๆ

ปฎิเสธประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร

ดื่มเหล้า1 แบน และเบียร์ 2 กระป๋อง/1วัน มา 18 ปี

สูบบุหรี่วันละ 10 มวน มา 10 ปี

ปฎิเสธประวัติโรคไวรัสตับอักเสบในครอบครัว

PE: BT 37 c ,BP 120/80mmHg,RR 20/min,PR 90/min

GA: good conciousness,alcohol odor,

HEENT : mild icteric sclera, not pale , parotid gland enlargement

Chest : spider angioma, no gynecomastia,clear both lungs,no superficial vein dilatation

Abdomen : mind distension , fuid thrill positive , palpable liver 3 FB at RCM. , spleen not palpable, not tender, no garding, can't palpable mass

skin&nail : yello skin color, no clubbing

Extemities : plamar erythema

Other : WNL

IMP : Alcoholic cirrhosis R/O hepatocellular carcinoma

ประเด็นทางคลินิก : ในผู้ป่วยที่มี risk ที่จะเกิด HHC เช่น ผู้ป่วยโรคตับแข็งหรืออาการเข้าได้ จะ ทำการตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเลือดหาค่า AFP ร่วมกับการทำ US ทุก 6 เดือน

จึงสงสัยว่าaccuracyในการdetact early-stage hepatocellular carcinom ในผู้ป่วยcirrhosis ระหว่างการตรวจ ระดับ AFP ในเลือดและการทำUS มีความแม่นยำมากเพียงใดเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน

คำถาม : Diagnosis

Q:การใช้ ultrasound ในการdetec early-stage hepatocellular carcinoma มีความแม่นยำมากเพียงใดเมื่อเทียบกัน การตรวจระดับ Alpha-fetoprotein ในเลือด

P: cirrhosis patient

I: การตรวจ ultrasound

C: การตรวจระดับ Alpha-fetoprotein ในเลือด

O: accuracy for detecting early-stage hepatocellular carcinama

case ที่ 2 เด็กชายไทย อายุ 3 ปี

CC : ไข้สูง มา 6 วัน ก่อนมารพ.

PI : 6 วันก่อนมารพ เริ่มมีไข้สูง หน้าแดง ปากแห้งแดง มีน้ำมูกใส ไม่ไอ ไม่เจ็บ คอ มีตาแดงทั้ง 2 ข้าง ทานอาหารได้น้อยลง คลื่นไส้ แต่ไม่อาเจียน ไม่ปวดท้อง

1 วันก่อนมารพ. ไข้ยังสูงกินยาลดไข้แล้วยังไม่ลง หน้าและปากแห้งแดงมากขึ้น มีผื่นแดงขึ้นที่ลำตัวและแขนขาทั้ง 2 ข้างไม่มีจุดเลือดออก มือและเท้าทั้งสองข้างบวมแดง อาการไม่ดีขึ้นจึงมารพ

PH : ปฎิเสธประวัติโรคประจำตัวใดๆ

ปฎิเสธประวัติแพ้ยาหรือแพ้อาหาร

ปฏิเสธไข้เลือดออกระบาดในชุมชน

ปฎิเสธประวัติเข้าป่า ลุยน้ำหรือเข้าสวน

PE : BT 39.2 c ,BP 90/60 mmHg,RR 30/min,PR 100/min

GA : good conciousness , look febrill, flushing

HEENT : non exudative bilateral conjunctival injection, lips and oral cavity include pharyngeal erythema and dry,strawberry tongue

Skin : generalize maculopapular rash at trunk and both extremities

lymphnode : left post. Cervical lymphadenopathy 2 cm

Heart : normal s1 s2 , no murmur

Extremities : erythema and edema both palms and soles

CBC : WBC 1,800 Nutrophil 50 Lymphocyte 45 HCT 38 Hb 13 plt 490,000

ESR : 45 mm/hr

CPR : 2 mg/dl

EKG : normal

Diagnosis : Kawasaki disease

Treatment : IVIG 2 mg/kg ครั้งเดียว

ASA 80 mg/kg/day

ประเด็นทางคลินิก : standard therapyในช่วง acute phase ของKawasaki disease คือsingle dose of IVIG 2 g/kg, และ Aspirine 80 to 100 mg/kg per day โดยสาเหตุของkawasaki disease ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลันของหลอดเลือดตามร่างกาย(self-limited acute vasculitic syndrome of unknown etiology) ซึ่งพบว่า กลุ่มโรคที่มีสาเหตุมาจาก vasculitis ส่วนใหญ่จะใช้ steroid ในการลดการอักเสบของหลอดเลือดทำให้เกิด complication จาก vaculitis ลดลงได้ จึงสงสัยว่า steroid ร่วมกับstandard therapr สามารถที่จะช่วยลดการเกิด complication ของ kawasaki disease คือ coronary artery aneurism ได้หรือไม่

Q : การให้ steroid ร่วมกับ standard treatment ในผู้ป่วยที่เป็น Kawasaki disease สามารถลดอัตราการเกิด coronary artery aneurism ได้หรือไม่

P: เด็กป่วยด้วยโรค kawasaki

I: steroid ร่วมกับ standard treatment

C: placebo ร่วมกับ standard treatment

P: ลดอัตราการเกิด coronary artery aneurism

Assignment1 Case1 นศพ.ปิยะโชค พรหมสุทธิ์ 4910310093

Case1 (Treatment):ชายไทย อายุ 45 ปี
CC.: ปวดท้อง 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
PI: 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณใด ไม่มีเรอเปรี้ยว บางครั้งมีปวดแสบๆ
ไม่มีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ยังมีอาการปวดอยู่ กินยาไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
PH:เคยมีอาการปวดท้องแบบนี้เป็นประจำ
กินอาหารไม่ตรงเวลา
ดื่มเหล้าวันละ ครึ่งขวด เป็นเวลา 3 ปี
สูบบุหรี่วันละ 10 มวน เป็นเวลา 5 ปี
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร

PE:V/S-BT36.7c,PR 80/min,RR 18/min,BP 110/70 mmHg
HEENT : not pale, no jaundice
Abdomen : soft, not tender, no guarding
Other : WNL
ประเด็นปัญหาทางคลีนิก
การ รักษา peptic ulcer แพทย์มักจะให้ ยากลุ่มลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ยาที่เคลือบผิวผนังกระเพาะอาหารไว้ เช่น ยา Cimetidine Ranitidine Omeprazole ร่วมกับ Alum milk ซึ่งเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการร่วมกับการให้ผู้ป่วยลดพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการ
ทำให้ผู้ป่วยย้อนกลับมาหาแพทย์ด้วยอาการเดิมเป็นประจำ

Problem:การให้ Antibiotic อย่างเดียวหรือให้ร่วมกับ antacid
จะช่วยลดการเกิดโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังดีกว่าการให้ antacid อย่างเดียวหรือไม่
P:ผู้ป่วยที่เป็น peptic ulcer
I:การให้ antibiotic อย่างเดียว/ร่วมกับ antacid
C:การให้ antacid เพียงอย่างเดียว
O:ลดการเกิดโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง

Assignment1 Case1 นศพ.ศุภกฤต ธนาจิระศักดิ์ 4910310146

นศพ.ศุภกฤต ธนาจิระศักดิ์ 4910310146
Assignment1
Case1 (Treatment):เด็กหญิงไทย อายุ1ขวบ
C.C.: หายใจเหนื่อย 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
PI: 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ต่ำๆ น้ำมูกใส ไอ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีหายใจเหนื่อย หายใจเร็ว มีอกบุ๋ม
PH:ปฎิเสธโรคประจำตัว
ไม่เคยหอบมาก่อน
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร
ทานข้าว 2 มื้อ + นมผสม
ทานนมแม่จนถึงอายุ 3 เดือน
รับวัคซีนครบ
พัฒนาการตามเกณฑ์
PE:V/S-BT37.8c,PR 100/min,RR 34/min,BP 100/70 mmHg
Respi : Wheezing both lung
Other : WNL
ประเด็นปัญหาทางคลีนิก
การรักษา Bronchiolitis แพทย์มักจะให้ Ventolin พ่นสลับกับ Berodual แต่ใน Clinical Practise guideline ให้เพียงแค่ Ventolin เพียงอย่างเดียว

Problem:การให้ Ventolin พ่น สลับกับ Berodual มีประโยชน์มากกว่าการพ่นแค่ Ventolin เพียงอย่างเดียวหรือไม่
P:เด็กที่เป็น Bronchiolitis
I:Ventolin พ่น สลับกับ Berodual
C:พ่นแค่ Ventolin เพียงอย่างเดียว
O:ผู้ป่วยหายไวขึ้น

Assignment นศพ.นฤเทพ หนูไชยแก้ว

นศพ.นฤเทพ หนูไชยแก้ว 4910310073
Assignment 1 (Harm)
Case : ชายไทยอายุ 53 ปี
CC : มารับยาความดัน
PI : เป็นผู้ป่วยความดันสูงอยู่ประมาณ 2 ปี มารับยาสม่ำเสมอที่ โรงพยาบาล
แพทย์ใช้ยาตัวเดียวคือ Nifedipine
2 เดือนที่ผ่านมาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ลดลง ตอนเช้ายังมีการแข็งตัวอยู่บ้าง
PH : HT 2 ปี
ปฎิเสธการแพ้ยาแพ้อาหาร
PE: V/S BT 37.0 C , PR 70/min , RR 20/min , BP 130/90 mm.Hg
other : WNL
ประเด็นปัญหาทางคลีนิก
ภาวะของ Erectile dysfunction เป็นภาวะที่พบในคนที่เป็นโรค เรื้อรังสามารถเป็นได้แต่ผู้ป่วยรายนี้มีอาการ
หลังจากทานยา Nifedipine มา 2 ปี โดยคุมความดันดีมาตลอด
Problem : การใช้ยา Nifedipine มีผลต่อภาวะ Erectile dysfunction หรือไม่

P : ชายอายุ 50 ปี HT มา 2 ปี

I : Nifedipine

C : Placebo

O : Erectile dysfunction


Assignment 2 (Diagnosis)

casee : หญิงไทยคู่ อาย 23 ปี G0P0A0

CC : ปวดท้องน้อยเรื้อรังมา 1 ปี

PI : 1 ปี PTA ปวดท้องน้อยเป็นๆหายๆ ไม่ปวดร้าวไปที่ไหน มักปวดก่อนมีประจำเดือน 1 สัปดาห์

หลังประจำเดือนมา 2 วัน อาการปวดลดลง

2 เดือน PTA คลำได้ก้อนที่ท้องน้อย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2 cm.ไม่ปวดที่ก้อน

ยังคงมีอาการปวดท้องมากเมื่อมีประจำเดือนมาทุกครั้งกินยาแก้ปวดท้องประจำเดือน อาการดีขึ้น

10 วัน PTA ผู้ป่วยคลำได้ก้อนโตมากขึ้นที่บริเวณท้องน้อย มีอาการปวดท้องมากขึ้นก่อนมีประจำเดือน 1 สัปดาห์และหลังมีประจำเดือน 2-3 วัน อาการปวดท้องลดลง ปริมาณประจำเดือนไม่ได้มากขึ้น ใช้ผ้าอนามัย 2-3 แผ่นต่อวันไม่มีน้ำหนักลดหรือเบื่ออาหาร ปัสสาวะ อุจจาระปกติดี ไม่มีตกขาวหรือเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ไม่มีไข้ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน

PH : No drug or food allergy

No U/D

ไม่มีใช้ยาใดเป็นประจำ

OB-Gyne History

ประจำเดือนครั้งแรก เมื่อ12 ปี interval 28-30 วัน duration 2-3 วัน 2-3 pad/day

แต่งงานมา 4 ปี ยังไม่มีบุตร Contraception ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด 2 ปี หยุดใช้แล้ว 2 ปี

PE : V/S : BT 37 BP 109/68 mmHg PR 74/min RR 20/min


HEENT : not pale conjuctiva, no icteric sclera

Heart & Lungs : WNL

Abdomen : abdominal mass at lower abdomen

เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 cm

cystic consistency , marked tender

PV

MIUB and vagina : normal

Cx : os closed

Ut : 16 wks sized

Adx : marked tender left

ประเด็นทางคลีนิก

Endometriosis สามารถ diagnosis ได้จาก Clinical ซึ่งประกอบด้วย Pelvic pain , Pelvic mass , infertile

โดยการ Ultrasound เป็นการ confirm diagnosis

Problem : Endometriosis สามารถ Diagnosis จาก Clinical Diagnosis ได้หรือไม่

P : หญิงอายุ 23 ปี G0P0

I : Clinical ( pelvic pain , pelvic mass , infertile )

C : Ultrasound

O: Endometriosis