Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


11/08/2011

EBM in community hospital

สวัสดีค่ะ.
หวังว่านศพ. ทุกคนคงสบายดีกันอยู่ และได้เรียนรู้มากมายในโรงพยาบาลชุมชนนะคะ ใกล้จะเดินทางกลับแล้ว ขอแจ้งให้ทุกคนทราบและอยากให้ช่วยกันกระจายข่าวว่า. ให้แต่ละกลุ่มส่งfile paper ที่กลุ่มตัวเองเลือกไว้แล้วนั้นส่งmail ให้กับเพื่อนๆกลุ่มอื่นกันให้ครบถ้วน เพราะเมื่อถึงวันนำเสนอทุกคนก็จะต้องสามารถเข้าใจงานของเพื่อนได้ดีค่ะ.

สำหรับการสอบ เป็นข้อสอบ MCQ. 5%. และคะแนนนำเสนอครั่งนี้คิดเป็น 10 % ค่ะ

ขอให้โชคดีค่ะ


08/08/2011

คำถามน่าสนใจ

เรื่อง permuted block.
ปกติแล้วการทำrandomization ทำได้หลายวิธี. วิธีที่ทำบ่อยที่อาจารย์เคยเล่าให้ฟังคือวิธีทั่วไปซึ่งใช้กับงานวิจัยใหญ่ๆ คือสุ่มโดยไม่จำกัดอะไร แบ่งกลุ่รักษาและควบคุม แต่เหมาะสำหรับงานวิจัยใหญ่เช่นn200 ขึ้นไป งานวิจัยเล็กๆที่N น้อยๆ สุุ่มแบบทั่วไปอาจจะมีโอากสที่สองกลุ่มจะไม่เท่าเทียมกันได้ จึงมีการใช้block. มาล๊อคตัวเลขไว้ก่อนเช่นถ้าการรักษามีแบบa ,b ถ้ามีblock ละ4 ก็จะมี๖แบบคือ. ๑ AABB. ๒BBAA. ๓ABAB ๔BABA ๕ABBA ๖BAAB. เวลาสุ่มก็จะสุ่มให้ได้ตัวเลขประจำblock ตำแหน่งเดียวคื ตัวเลขได้ตั้งแต่๐๑๒๓๔๕๖๗๘๙. แต่ถ้าสุ่มได้ตัวเลข ๐,๗๘๙ก็ไม่นับ. เช่นถ้าสุ่มได้. เลข๓๕๑ ลำดับที่คนไข้ตามลำดับ 12คน แรกจะได้รับการรักษาก็จะเป็น. ABAB. ABBA. AABB.เป็นต้น.
ภาพรวมก็คือจะใช้กับtrial. ที่เล็กเพื่อให้มีการกระจายสองกลุ่มได้พอๆกันนั่นเอง ถ้าขนาดประชากรมีเยอะไม่ต้องใช้แบบนี้ข้อเสียแบบนี้คืออาจจะพอทำนายได้ว่าcode ที่เลข๑ คือAABB ดังนั้นก็จะรู้ว่าคนที่๒จะได้A. ที่สามB เป็นต้น แต่ก็ไม่ได้เป็นวิธีที่แย่นักค่ะต้องconceal ให้ดีตอนแจ้งcode ค่ะเช่นแจ้งทางโทรศัพธ์ เป็นต้น

เรื่อง Sensitivity analysis เข้าใจถูกแล้วค่ะ มันเรื่องเดียวกัน
Adjusted odd ratio. คือการคิดค่าOR เมื่อตัดปัจจัยรบกวนที่ระบุไว้ออกเรียกว่าเป็นการหาค่าOR แบบอิสระไม่มีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องนอกจากปัจจัยที่เรากำลังสนใจกับoutcome นั้นๆค่ะ


Pooky:Sent from my iPad2



On 8 ส.ค. 2554, at 18:06, GuN S wrote:

permuted blockrandomization ต้องทำอย่าไรครับลองsearch ในweb ไม่ค่อยเข้าใจครับอาจารย์
- การที่มีผู้ป่วยหายไปจากการทดลอง เราจะต้องทำอย่างไรครับ ถ้าหายไปไม่เกิน20%ไม่เป็นอะไรรึป่าว หรือว่าต้องไปคิดว่าในกลุ่มที่ได้ผลดีให้คิดเป็นผลไม่ดี ร่วมกับกลุ่มที่ได้ผลไม่ดีให้คิดว่าได้ผลดีแล้วลองนำมาเปรียบเทียบกับผลการ ทดลองที่หายไป ผลเหมือนกันหรือไม่
 " The results were also assessed for sensitivity to
dropout, assuming that the dropouts were missing
at random. A propensity score for dropout at
9 months was estimated with the use of logistic
regression, and a further analysis was carried out
to weight results according to the reciprocal of the
probability of remaining in the study." มันใช่เรื่องเดียวกันหรือไม่ครับ
- คำว่า adjusted odd ratioหมายความว่าอย่างไรครับ                      
                                                              ขอบคุณครับ

31/07/2011

EBM รพ.ระโนด

EBM รพ.ระโนด

กรณีศึกษาที่สนใจ

Case: ชายไทยคู่อายุ 65 ปี ภูมิลำเนา อ.ระโนด จ.สงขลา
Chief complaint: มารับการฟอกไตที่โรงพยาบาล

Present illness: 15 ปีก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อยกลางคืนจึงมาพบแพทย์ ได้รับ การวินิจฉัย DM type II มารับยาที่โรงพยาบาลระโนด รักษาไม่สม่ำเสมอ FBS 200-250 mg% ตรวจร่างกายประจำปีพบ Serum Cr สูงขึ้นเรื่อยๆ
2
ปี ก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีอาการซีดมากขึ้น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และบวมมากขึ้น ส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการณ์
Lab : BUN = 58 mg/dl Cr = 6 mg/dl UA : Broad cast Electrolyte : Na = 138 K = 4.6 จึงได้เริ่มทำการล้างไตโดยการใช้เครื่องไตเทียม แพทย์ Advise Renal transplantation ผู้ป่วยรับทราบ
วันนี้ผู้ป่วยมารับการฟอกไตที่โรงพยาบาลที่โรงพยาบาล ได้ถามแพทย์ว่าหากทำการล้างไตโดยใช้เครื่องไตเทียมไปเรื่อยๆตลอดชีวิตกับการได้รับการปลูกถ่ายไต วิธีการใดจะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวมากกว่ากัน

Past History : DM type II, ไม่ดื่มเหล้าไม่สูบบุหรี่, ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร

Faimily History : บิดาเป็นโรคเบาหวาน


Physical Examination

Vital sign : Body temperature 37.0 C Heart rate 80 /min Respiratory rate 20 /min
Blood pressure 132/80 mmHg

GA: a Thai man, good consciousness BW = 55 Kg
HEENT: mild pale conjunctiva , no icteric sclera , no lymphadenopathy
Skin : Dermatosis both leg
Cardiovascular system: normal S1S2 ,no murmur, no friction rub , no neck vein engorge
Respiratory system: chest normal shape and movement, clear breath sound both lung no crepitation
Abdomen: no distension, normal bowel sound, soft, not tender
Nervous system
Motor power: gradeV all
Sensory : intact
Normal reflex

Cranial nerve : normal CN I-XII

Diagnosis: Chronic kidney disease stage V

Clinical Question

ในผู้ป่วย Chronic kidney disease stage V U/D DM การรักษาโดยใช้ Hemodialysis เทียบกับ Renal transplantation วิธีใดจะทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดใน 5 ปีมากกว่ากัน

PICO

P: Patient with Chronic kidney disease stage V

I: Hemodialysis

C: Renal transplatation

O: 5 years survival


วิธีการ Search Paper ในหัวข้อที่เราสนใจ

1. 1.เข้า Pubmed (http://www.pubmed.gov)

2. 2.เลือก tab MeSH และใส่ข้อความ kidney failure กด Search

3. 3.เลือก Kidney Failure, Chronic เลือก type search builder : AND และกด Add to search builder

4. 4.Mesh Search : พิมพ์ diabetic nephropathies และ กด Search

5. 5.เลือก subheadings : Therapy เลือก type search builder : AND และกด Add to search builder

6. 6.Mesh Search : พิมพ์ Renal dialysis และ กด Search

7. 7.เลือก Renal Dialysis เลือก type search builder : AND และกด Add to search builder

8. 8.Mesh Search : พิมพ์ Renal transplantation และ กด Search

9. 9.เลือก Kidney Transplantation เลือก type search builder : AND และกด Add to search builder

10. 10.กดปุ่ม Search PubMed

11. 11.จะพบบทความทั้งหมด 151 บทความ

12. 12.ทำการ Limit โดยกด Limits

13. 13.เลือกหัวข้อตาม Box ดังนี้
- Species : Humans
- Languages : English
- Text Options : Links to free full text

14. 14.กดปุ่ม Search

15. 15.เราจะเหลือบทความเพียง 15 บทความ

16. 16.ทำการอ่านหัวข้อของบทความและ Abstractของบทความ

1. 17.จะเหลือบทความเพียง 1 บทความคือ “Comparison of survival for haemodialysis patients vs renal transplant recipients treated in Uruguay.


EBM โรงพยาบาลจะนะ

กรณีศึกษาที่สนใจ

Case: เด็กชายไทย อายุ 16 ปี
Chief complaint:
ไข้สูง 5 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล

Present illness:
5 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้สูง ไม่มีหนาวสั่น ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีท้องเสียถ่ายเหลว กินยาลดไข้เเล้วไข้ลง หลังหมดฤิทธิ์ยาไข้กลับมาสูงใหม่ ไม่มีไอ ไม่มีเจ็บคอ ไม่มีน้ำมูก
3วันก่อนมา ยังมีไข้สูง ไม่มีีตาแดง มีปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วๆตัว ไปซื้อยาแก้ปวดและลดไข้มากิน อาการดีขึ้น เบื่ออาหาร มีคลื่นไส้แต่ไม่อาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระปกติ ไม่มีจุดเลือดออกตามตัว ไม่มีเลือดกำเดาไหล
2วันก่อนมาโรงพยาบาล อาการปวดกล้ามเนื้อทั่วตัวไม่ดีขึ้น ปวดเอว เเละยังมีไข้สูงอยู่ ไม่มีเวียนศีรษะหน้ามืด ไม่มีหอบเหนื่อย ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เเพทย์สงสัยไข้เลือดออก ตรวจเลือดเเล้ว แพทย์บอกว่าให้มาตรวจเลือดใหม่วันรุ่งขึ้น แต่ไม่ได้มา
วันนี้ยังมีไข้สูงสลับกับไข้ต่ำๆ ปวดเอวมาก ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีปวดท้อง ปัสสาวะอุจจาระ ปกติ ไม่มีจุดเลือดออกตามตัว อาการยังไม่ดีขึ้นจึงมาพบเเพทย์ขอนอนโรงพยาบาล


Past History :
10 วันก่อนมีไข้ ผู้ป่วยไปล่องแก่ง เที่ยวป่าที่สตูล ผู้ที่ไปเที่ยวด้วยกันไม่มีใครเป็นไข้
ปฏิเสธประวัติโรคประจำตัว

ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร

Physical Examination

Vital sign : Body temperature 38.9 C Heart rate 100 /min Respiratory rate 22 /min
Blood pressure 120/84 mmHg

GA: a Thai man, good consciousness
HEENT: not pale , no jaundice, no conjunctivitis,no lymphadenopathy
Cardiovascular system: normal S1S2 ,no murmur
Respiratory system: chest normal shape and movement, clear breath sound both lungs
Abdomen: no distension, normal bowel sound, soft, not tender,no Hepatosplenomegaly
Nervous system : Normal

Impression: Acute Febrile Illness

Clinical Question

ผู้ป่วย Acute febrile illness และสงสัยLeptospirosis การใช้ Latex agglutination test ในการวินิจฉัยมีความเเม่นยำเพียงใด

PICO

P:Patient who had an acute fever of >38 C for more than 1 day but
not more than 3 weeks

I:Latex agglutination test

C: Microscopic Agglutination Test

O: diagnosis of Leptospirosis

วิธีการ Search EBM
- www.pubmed.gov
- พิมพ์ search term : Latex agglutination test and diagnosis and Leptospirosis
- พบ บทความ 26 บทความ
- Limited : humans, english
- พบ 20 บทความ
- บทความที่ใกล้เคียง 2 บทความ
- The use of latex agglutination for the diagnosis of acute human leptospirosis.
- Comparison of an in-house latex agglutination test with IgM ELISA and MAT in the diagnosis of leptospirosis.