Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


17/09/2014

ความคืบหน้า

สวัสดีคะนศพปี5 ทุกคน
นี่ก็ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์แล้วกับการได้ลองสัมผัสชีวิตใน รพช หวังว่าทุกคนคงได้เรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์กันมากมาย และคงกำลังมุ่งมั่นกับการเรียนรู้EBM ในบริบทของ รพช ตั้งแต่การตั้งคำถาม การค้นหา การเข้าถึงpaper และคงกำลังสนุกกับการวิเคราะหฺวิจารณ์งานวิจัย (สังเกตได้จากความเงียบในblog) ใคร ที่ยังเข้าใช้งานไม่ได้ก็ส่งคำถามมาได้คะ
สุดท้ายนี้ขอให้มีความสุขกับสิ่งที่กำลังเรียนรู้ทุกคนนะคะ ; )  PS อย่าลืมassignment !!

15/09/2014

EBM โรงพยาบาลควนเนียง Systematic review

CASE   เด็กหญิงไทยอายุ 14 ปี

CC : หอบเหนื่อย 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล

PI :  2 วันก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยไอและมีเสมหะเล็กน้อย ไม่มีไข้ อาการเป็นมากขึ้น
2ชม.ก่อนมารพ.เริ่มมีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว มารดาจึงพามาโรงพยาบาล
PH: ผู้ป่วยมีประวัติหอบเมื่ออายุ 7 ปี มารดาพามาพ่นยาที่โรงพยาบาลควนเนียง หลังจากนั้นไม่มีอาการ จะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกเป็นประจำสัมพันธ์กับอากาศเย็น ไม่ได้ใช้ยาประจำ


PE:
V/S : BT 37.3 PR 100/min RR 24/min BP 110/80 mmHg
GA: A thin Thai girl 14 yr, look dyspnea
HEENT : nasal flarin, suprasternal notch retraction, not pale, no icteric sclera, anterior lymph node enlargement, no injected pharynx
Heart : no cyanosis, normal S1S2, no murmur, capillary refill < 2 sec
Lung: normal movement, no Kussmaul breathing, wheezing both lungs
Abdomen : normal contour, normoactive bowel sound, soft, not tender
Extremities : no rash, no skin lesion
Neurology : intact

คำถามงานวิจัย
การรักษา asthmatic attack ในเด็กด้วยการพ่น ventolin ทำให้ผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่าการพ่น berodual

PICO
P: ผู้ป่วยเด็กที่เป็น asthmatic attack
I: shot-acting beta-agonists
C: anticholinergic and shot-acting beta-agonists
O: hospital admissions

การค้นหางานวิจัย
1.ใช้ The Cochrane library เป็น search engine
2.Search Title/Abstract/keyword ด้วยคำว่า asthma children anticholinergic
3.There are 8 results from 8647 records in Cochrane Reviews'
4.เลือกงานวิจัยลำดับที่สอง
"Combined inhaled anticholinergics and short-acting beta2-agonists for initial treatment of acute asthma in children"
Benedict Griffiths and Francine M Ducharme
Online Publication Date: August 2013

http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/14651858.CD000060.pub2/pdf


EBM โรงพยาบาลควนขนุน Therapy 2557

Case เด็กชายไทยอายุ 18 เดือน
CC : ไข้ 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
PI :   3 วันก่อนมาโรงพยาบาลเริ่มมีอาการไอมีเสมหะสีัเหลืองไม่มีเลือดปน มีน้ำมูกสีเหลืองใส ไม่มีไข้              ไม่มีหอบเหนื่อย
        1 วันก่อนมาโรงพยาบาลเริ่มมีไข้สูงตลอดทั้งวัน กินยาลดไข้ลงดีประมาณ 4 ช่ั่วโมง หลังจากนั้นไข้            กลับขึ้นมาสูง มารดาสังเกตุเห็นบุตรชอบเอามือจับหูขวา ร้องไห้งอแง รับประทานอาหารและนม              น้อยลง ปัสสาวะและอุจจาระปกติ
PH : - No underlying disease
        - No food/drug allergy
Child health maintainance
Birth history : คลอดปกติตามธรรมชาติ ไม่มีความผิดปกติใดๆ
Growth :  หนัก 10 kg สูง 77 cm --> ปกติตามวัย (P50)
Development : เดินได้ดี พูดได้ 1-2คำ
Vaccination : complete ตามวัย
Nutrition : ข้าว 3 มือเป็นอาหารหลัก + นม 4 OZ 2 ขวด
PE : V/S BT 38.2 C BP 80/60 mmHg PR 120 bpm RR 26/min
GA : Good conscious, crying
HEENT : not pale, no jaundice, no sunken eyeballs, no dry lips, tonsil not enlargement, no injected pharynx
               Left ear : normal external ear canal, normal TM
               Right ear : normal external ear canal, bulging and hyperemia TM
Heart : normal S1S2, no murmur
Lung : normal breath sound
Abdomen : soft
Extremities : no rash nor petechiae

Diagnosis: Acute otitis media
Clinical Question
ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 2 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Acute otitis media การให้ Augmentin ช่วยลดระยะการมีอาการแสดงของผู้ป่วยได้จริงหรือไม่
PICO
P: Patient less than 2 years who was diagnosed AOM
I:  Oral augmentin therapy
C: Placebo therapy

O: 
reduce the time to resolution of symptoms

วิธีการ Search EBM
- search หาเว็บไซต์ New England Journal of medicine (NEJM) จาก www.google.co.th
- พิมพ์คำว่า Acute otitis media ลงในช่องค้นหาและกดค้นหา
- พบผลลัพธ์ 1273 บทความ
- คลิก link "Research" ใน Filter results
- พบผลลัพธ์ 551 บทความ
- บทความที่เลือกจะปรากฏเป็นบทความแรกในผลลัพธ์การค้นหา

ชื่อบทความที่เลือกอ่าน
ชื่อเรื่อง: Treatment of Acute Otitis Media in Children 
under 2 Years of Age
ชื่อผู้แต่ง: M.N. Oxman, M.D., M.J. Levin, M.D., G.R. Johnson, et.al
ชื่อวารสาร: The new England Journal of Medicine

Link : http://www.nejm.org/doi/pdf/10.1056/NEJMoa0912254

14/09/2014

EBM กลุ่มโรงพยาบาลบางกล่ำ แก้ไขคร๊าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

รายชื่อสมาชิกกลุ่มโรงพยาบาลบางกล่ำ

นศพ.ระพี เลาประสพวัฒนา 5310310128
นศพ.นพดล จิตผิวงาม 5310310074
นศพ.ธนบดี พงษ์ธัญญะวิริยา 5310310062
นศพ.ศิวกร พงศ์ทิพย์พนัส 5210310156
นศพ.ศรัญญู หวันบิหลาย 5310310142
นศพ.ธนดล เอกสมทราเมษฐ์ 5310310061
นศพ.มนัสนันท์ กนกทิพย์นารา 5310310119
นศพ.กุลประสูติ ศิริอนันต์ 5310310023

CASE SCENARIOชายพม่าคู่ อายุ 28 ปี
CC: ปวดท้องน้อยด้านขวาล่าง 3 ชั่วโมง
PI: 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการปวดหน้าท้องน้อยด้านขวา อาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 4-8 ลักษณะการปวดจี้ด ตลอดเวลา ไม่มีปวดร้าวไปบริเวณอื่น การขยับตัวจะมีอาการปวดมากขึ้น ไม่มีไข้ ไม่มีปัสสาวะแสบขัด ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน มีอาการเบื่ออาหาร ไม่ถ่ายอุจจาระ 1 วัน ไม่ได้รับการรักษาใดมาก่อน
PH : No underlying disease, no food and drug allergy
no hospitalization and operation history
สูบบุหรี่วันละ 10 มวน 8 ปี ดื่มเหล้าวันละแก้ว 

PE:
GA: A mynmar man, look sicked and suffering
Vital signs: BT 36.6 C, HR 90 beats/min, RR 20/min, BP 110/75 mmHg
HEENT: Not pale conjunctivae, no icteric sclerae, no accessory muscle used

Heart: Normal S1, S2, no murmur, Apex beat at 5th ICS left MCL, pulse full and regular.
Lung: Clear breath sound both lungs
Abdomen: Inspection : Flat contour, no mass and visible peritalsis, umbilicus at midline
Auscultation : Hypoactive bowel sound 4 quadrants
Palpation : Tenderness and Rebound tenderness at Mcburney's point, Generalized guarding. Liver and spleen not palpable.
Percussion : Dullness on percussion, no fluid shift,no CVA tenderness.
Alvarado score = 4 (Tenderness at Mcburney = 2, Anorexia = 1, Rebound tenderness = 1)
RIPASA score = 10.5

CBC
Hb 13.6 mg%
Hct 42.2 %
WBC 6900 cu/mm3
N 35 %
L 48 %
M 11 %
Eo 5 %
Baso 1 %
Platelet 381700
MCV 81 MCHC 32.2 RDW 12.7

UA Color: clear yellow
Spec grav. 1.015
pH 6.0
Urine albumin negative
Urine sugar negative
Urine blood negative
Urine ketone negative
WBC 3-5 cells/HPF
RBC 0-1 cells/HPF
Epi 0-1 cells/HPF
Bact few

Acute abdominal series
PA upright: adequate exposure, full inspiration, no cardiomegaly, no pulmonary infiltration, sharp costophrenic angle, no subdiaphragmatic free air.
Abdomen AP supine: No bowel dilation, fecal impact at colon, no free air, air in rectum

Question :

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา การใช้ Alvarado score ดีกว่า การใช้ RIPASA score ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ ใช่หรือไม่


ประเภทปัญหาทางคลินิก: Diagnosis

Patient: ผู้ป่วยชายวัยกลางคน มีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา
Intervention: Alvarado score และ RIPASA score
Comparison: Histopathology of acute appendicitis
Outcome: Accuracy of alvarado score and RIPASA score

แนวทางการค้นหาข้อมูล:

web-base resources ที่เลือกใช้ ได้แก่
 Pubmed MeSH Database
คำหรือรูปแบบที่ใช้ในการค้นหา ได้แก่ "Acute appendicitis/diagnosis"[Mesh] Alvarado RIPASA
Article ทั้งหมด: 3 articles
Limitation
article type: Prospective study
text availability: free full text
publication date: 5 years
species: Human
Languages: English
จำนวน Articles ที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏ= 3 article

ชื่อ Article ที่เลือกอ่านเพื่อตอบปัญหาทางคลินิก

ชื่อผู้แต่ง: Chong CF, Thien A, Mackie AJ, Tin AS, Tripathi S, Ahmad MA, Tan LT, Ang SH, Telisinghe PU.
ชื่อวารสาร: Singapore Med J. 2011 May;52(5):340-5.

PMID:
 
21633767
 
[PubMed - indexed for MEDLINE] 


http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21633767

EBM รพ ระโนด 2557 (prognosis) แก้ไขค่ะอาจารย์


case เด็กชายไทย อายุ 15 ปี อาชีพ นักเรียน


เด็กชายไทย อายุ 15 ปี อาชีพ นักเรียน
CC ชักเกร็งกระตุกมา 15 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
PI
        15 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว เป็นเวลาประมาณ 2 นาที มีตาเหลือก น้ำลายฟูมปาก ไม่มีอุจจาระปัสสาวะราด ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ก่อนชักรู้สึกเวียนศีรษะ ขณะชักมาดาเรียกไม่รู้สึกตัว หลังชักดูซึมลง จำเหตุการณ์ไม่ได้และอ่อนเพลีย 
PH เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก เมื่อ 3 เดือนก่อน
ปฏิเสธประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร

ปฏิเสธการได้รับอุบัติเหตุ 
ปฏิเสธประวัติการติดเชื้อในสมอง หรือการผ่าตัดทางสมอง
ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 
ปฏิเสธประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่
FH
ไม่มีประวัติชักในครอบครัว

ปฏิเสธโรคทางพันธุกรรม
PE
V/S : BT 36.7 C BP 110/70 mmHg 

GA Good conscious
HEENT Not pale, anicteric sclera
Heart Normal s1 s2, no murmur
Lung Clear and equal breath sound both lungs 
Abdomen Normoactive bowel sound ,soft not tender, no guarding ,no rebound tenderness
Extremity No pitting edema
Neuro-examination Motor power grade V all extremity, 
Sensory intact , pupil 3 mm both reaction to light, Babinski sign negative,
Deep tendon reflex 2+, stiff neck negative

Clinical Question

เด็กที่เป็นโรคลมชัก มีอัตราการเสียชีวิต เพิ่มมากขึ้นใช่หรือไม่

PICO

P: ผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอายุ < 20 ปี
I: ติดตามไป 50 ปี
C: -
O:  อัตราการเสียชีวิต

วิธีการ search paper

1. เข้า www.pubmed.gov
2. พิมพ์ Mortality Childhood Epilepsy และกด search ได้ paper ที่เกี่ยวข้อง 250 papers
3. limitation โดยกด limits ตามหัวข้อใน box คือ 
    - text availability --> free full text
    - publication date --> 5 years
    - species --> human
    - languages --> english
   หลังจาก limitation พบว่าเหลือ paper ที่เกียวข้อง  23 papers
4. ศึกษาหัวเรื่องงานวิจัยพบว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5 งานวิจัย ประกอบด้วย meta-analysis 1 งานวิจัย ที่เหลือเป็น observational study และเมื่อศึกษา methodology พบว่า paper ที่เลือกทำการศึกษามีระยะเวลาในการติดตามนานที่สุด จึงเลือก paper นี้
งานวิจัยที่เลือกคือ  "Long-Term Mortality in Childhood-Onset Epilepsy"

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21175314




10/09/2014

ขั้นตอนการเข้าใช้ EBM Blog

1 เปิด mail ของตนเอง
2 กดตอบรับ invitation
3 เปิด URL www.ebfm50.blogspot.com
4 ลงชื่อเข้าใช้ที่มุมบนขวา สำหรับคนที่มี gmail อยู่แล้ว อาจเข้าได้โดยไม่ต้องสมัครใหม่ คนที่ไม่มี gmail อาจต้องสมัครใช้โดยตั้งค่า mail ที่แจ้งไว้กับแผนก
5 เลือกใช้ blog evidence based medicine ...
6 post ข้อความใหม่โดยเลือก มุมบนขวา ที่เขียนว่า "บทความใหม่"

ใครยังเข้าไม่ได้ ลองเลียบเคียงถามคนข้างๆที่ทำได้แล้ว แล้วบอกต่อกันนะคะ

ทักทายจากพี่เม้าส์

สวัสดีคะน้องๆ นศพ.ปี 5/57
มีข่าวดีจะบอก... Present EBN วันอังคารที่ 23  กันยายน  57 เลื่อนไปเป็นวันศุกร์ที่ 26 กันยายน 57 ช่วงบ่ายนะคะ (ช่วงเช้าสอบข้อเขียน บ่าย Present EBM คะ)

ยินดีต้อนรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ประจำปี 2557 เข้าสู่การเรียนรู้ EBM ผ่าน EBM blog

ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ EBM ขณะฝึกปฎิบัติงานใน รพช. คะ