Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


04/07/2008

Diagnosis : นศพ.จุรีรัตน์ จันทรัตน์

Case ผู้ป่วยหญิงอายุ 45 ปี

CC ตาซ้ายมัวมา 1 เดือน
PI 1 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล เริ่มมีรู้สึกว่าตามัวหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และพบว่าเมื่อลองปิดตาทีละข้างแล้วมองด้วยตาข้างเดียว ตาข้างซ้ายมัวกว่าข้างขวา แต่ไม่ได้มีอาการเห็นแสงวูบวาบนำมาก่อน หลังจากนั้น 3 วัน ไปหาหมอที่ รพ. พังงา แพทย์บอกว่าไม่ได้เปนอะไร ให้ยาหยอดตามาอาการก้อดีขึ้น ระหว่างนั้นมีอาการ ตาซ้ายมัวเรื่อยๆ มองเห็นจุดสีดำๆ ลอยไปมาบ่อยครั้ง แต่ละครั้งนานไม่เท่ากัน หายได้เอง ไม่ได้สังเกตว่ามีอาการมากช่วงไหนเป็นพิเศษ ต่อมาพบว่าถ้าปิดตาขวา แล้วใช้ตาซ้ายมองตาเดียว จะเห็นสิ่งที่มองแค่ครึ่งบน ส่วนตาข้างขวายังมองเห็นปกติดี 2 สัปดาห์ ต่อมา ไป รพ. พังงา อีกครั้ง ครั้งนี้แพทย์วินิจฉัยว่า จอประสาทตาหลุดลอก จึง refer มาเพื่อผ่าตัดแก้ไข
PH มีประวัติสายตาสั้นมาตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี สั้น ประมาณ 300
ปฏิเสธประวัิติกระทบกระแทกต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง
ปฏิเสธโรคประจำตัว
ปฏิเสธประวัติการอักเสบของดวงตา
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร
Family history น้องชายเคยมีอาการเช่นเดียวกันแต่เป็นตาข้างขวา (จำไม่ได้แล้วว่าตอนอายุเท่าไหร่) ไปพบหมอตอนที่มีอาการมากแล้ว หมอบอกว่า จอประสาทตาหลุดลอก และอยู่ในระดับรุนแรง ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ หลังจากนั้นตาขวาก็มัวลงเรื่อยๆ และมองไม่เห็นในที่สุด
PE Vital signs: Stable
General appearance : Good conciousness
HEENT : Normal shape of head
Normal orbital shape
No eyelid lesion
Not pale, conjunctivae not injection
Cornea no lesion, Normal light reflex
Pupil react to light both eye ~3 mm. RAPD negative
Normal eye movement
Visual field (confrontation test) ; Rt. eye normal
Lt. eye Defected at lowner part
Fundus ; Rt. eye normal
Lt. horse shoe tear at upper part

Heart & Lung : Normal
Abdomen : Normal
Extremities : Normal

อยากทราบถึงความแม่นยำในการวินิจฉัย visual field defect โดยวิธี confrontation test เมื่อเทียบกับ gold standard(By Perimetry)

2 comments:

WiJaSika said...

เมย์เมย์มาแว้วววววว
เมื่อได้อ่านคำถามของคุณเพื่อนก็เกิดคำถามในใจอย่างกระทันหัน คือPerimetry มันคืออะไรแล้วหว่า
เป็นที่มาของการหาข้อมูลเพิ่มติมได้ว่า

Perimetry คือการตรวจ visual field ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการทำลาย หรือ visual function loss มากน้อยเพียงใด มีความสำคัญทั้งในแง่การวินิจฉัย และ ติดตามการรักษา วิธีการวัดลานสายตา มี 2 วิธี คือ
3.1 Manual kinetic perimetry เช่น Goldmann perimetry โดยการใช้แสงที่มีขนาด และความเข้มแสงต่าง ๆ กัน จาก periphery มายัง central และบันทึกลานสายตาที่มองเห็น เหมาะในผู้ป่วยที่มี poor vision และไม่สามารถ concentration ได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมี ผู้ทดสอบที่ชำนาญ ถ้าต้องการวัดให้แม่นยำ
3.2 Automatic Static perimetry เป็นการวัดที่ใช้ computer เป็นตัวหลักในการควบคุม แต่ใช้เวลาทดสอบค่อนข้างนาน ประมาณ 15 - 20 นาที เป็นการตรวจที่บอกถึง sensitivity ของ retina แต่ละจุด วิธีการนี้จะให้ highly quantitative มากกว่า และช่วยในการวิเคราะห์ได้ดีกว่า kinetic perimetry รวมทั้ง early detection ในผู้ป่วยที่เริ่มเป็น หรือมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก
แล้วของตัวเอง จะเปรียบเทียบกะแบบไหนอ่า ?????

WiJaSika said...

ต่อกานอีกนิด
เค้าหามาดูหายากจังอ่ะของตัวเอง
ลองดูล่ะกาน
The accuracy of confrontation visual field test in comparison with automated perimetry.
The accuracy of confrontation visual field testing was determined for 512 visual fields using automated static perimetry as the reference standard. The sensitivity of confrontation testing excluding patchy defects was 40% for detecting anterior visual field defects, 68.3% for posterior defects, and 50% for both anterior and posterior visual field defects combined. The sensitivity within each group varied depending on the type of visual field defect encountered. Confrontation testing had a high sensitivity (75% to 100%) for detecting altitudinal visual loss, central/centrocecal scotoma, and homonymous hemianopsia. Confrontation testing was fairly insensitive (20% to 50% sensitivity) for detecting arcuate scotoma and bitemporal hemianopsia. The specificity of confrontation testing was high at 93.4%. The high positive predictive value (72.6%) and negative predictive value (75.7%) would indicate that visual field defects identified during confrontation testing are often true visual field defects. However, the many limitations of confrontation testing should be remembered, particularly its low sensitivity for detecting visual field loss associated with parasellar tumors, glaucoma, and compressive optic neuropathies.

แต่มานไม่ค่อยอัฟเดตน้า