หญิงไทย อายุ 17 ปี
CC : labour pain 5 ชม. PTA
PI : G1P0 GA 39weeks by ultrasound
ฝากครรภ์ที่คลินิกตามนัดทุกครั้ง ปกติดี
คลอด normal labor EBL 200 cc
เด็กปกติดี
postpartum day 1 : รู้สึกตัวดี ลุกเดินแล้ว ปวดแผลเล็กน้อย น้ำนมไม่ไหล ตรวจร่างกายพบว่าหัวนมปกติดี
Advice ให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อย ๆ แม่ดื่มน้ำมาก ๆ
postpartum day 2 : น้ำนมไหลแล้วแต่ปริมาณยังน้อยอยู่ ลูกร้องกวนบ่อย ไม่มี let down reflex
จึง ให้ Motilium ( Domperidone ) 3 tab oral tid ac เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม
Problem : สงสัยว่ายาที่ใช้กระตุ้นการสร้างน้ำนม ระหว่าง domperidone กับ metoclopramide ประสิทธิภาพในการรักษาต่างกันหรือไม่
2 comments:
สำหรับ domperidone์ เป็น peripheral dopamine antagonist โดยไปขัดขวางที่ pheripheral dopamine receptors บนผนังลำไส้และที่ศูนย์ควบคุมการคลื่นไส้ที่ brain stem ข้อบ่งใช้โดยทั่วไปใช้เป็นยาแก้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจาก Domperidone ออกฤทธิ์ต้ านการทำงานของ dopamine ซึ ่ง dopamine มีฤทธิ์ในการลดการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลคติน เมื่อการทำงานของ dopamine ลดลงจากยา เกิดผลข้างเคียงของยาคือ ทำให้ระดับฮอร์ โมนโปรแลคตินในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโปรแลค ตินเป็นฮอร์โมน ในการกระตุ้นเซลล์ต่อมน้ำนมในการสร้างน้ำนม ทำให้มีการนำ มาใช้เป็นยากระตุ้นการสร้างน้ำนม
ถ้าเปรียบเทียบผลข้างเคียงกับยากระตุ้นการสร้างน้ำนมที่ใช้เดิมคือ Metoclopamide (Plasil) พบว่า Metoclopamide มีผลข้างเคียงมากกว่า เพราะสามารถผ่าน Blood brain barrier ได้มากกว่า Domperidone ผลข้างเคียงอื่นๆของ Metoclopamide ที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ซึมเศร้า
Brown T.Fernandes A, et al. ศึกษาแบบ Randomized Controlled Trial พบว่าการใช้ Domperidone 10 มก. ทำให้มีระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Da Silva OP,Knoppert DC et.al ศึ กษาแบบ Randomized.double-blind,placebo-controlled trial ในแม่ที่คลอดก่อนกำหนดและผลิตน้ำนมได้น้อย 16 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ Domperidone 10 มก. วันละ 3 ครั้ง มีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 112.8 – 162.2 ซีซีต่อวัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ซึ่งผลิตน้ำนมได้เพียง 48.2-56.1 ซีซีต่อวัน โดยไม่พบผลข้างเคียงของยาต่อทั้งทารกและแม่ตลอดการทดลอง
Hernandez,Jr.2002 ศึ กษาแบบ Randomized ในแม่ที ่คลอดลูกก่ อนกำหนด 40 คนเปรียบเทียบผลของการใช้ ยากระตุ ้นการสร้ างน้ำนม Metoclopamide , Domperidone และ Malunggay leaves ในการเพิ ่มปริมาณน้ำนม พบว่า Domperidone สามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้มากที่สุด ในวันที่ 7 และ 14 ตามด้วย Metoclopamide, Malungggay leaves และกลุ่มควบคุ ม ตามลำดั บ โดยไม่พบผลข้ างเคียงใดๆ ต่อทั ้งทารกและแม่ตลอดการทดลอง
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้มีการเลือกใช้ domperidone มากกว่า metoclopramide เนื่องจากผลข้างเคียงน้อย ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว
ยาวไปหน่อย ทนอ่านหน่อยก้อแล้วกันนะ ไม่รู้ได้ประเด็นอ่ะป่าว
Post a Comment