Evidence Based Medicine นศพ.วิศิษฎ์ศักดิ์ ภักดี
Case study : Pterygium
ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 45 ปี
ศาสนาพุทธ อาชีพวิศวกรเหมืองแร่
Chief complaint : มีอาการตามัวทั้งสองข้าง 1 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล
Present illness
10 ปีก่อนมาโรงพยาบาล สังเกตเห็นก้อนเนื้อที่ตาทั้งสองข้าง ขนาดเล็ก อยู่บริเวณหัวตาทั้งสองข้าง มีอาการระคายเคืองตาเล็กน้อย การมองเห็นชัดเจนดี ไม่มีอาการตามัว
5 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล สังเกตเห็นก้อนเนื้อที่ตาโตขึ้นช้าๆ อาการระคายเคืองตามีมากขึ้น
มีอาการระคายเคืองตาเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตา น้ำตาไหลบ่อยเวลาโดนแดดหรือลม ไม่มีอาการตามัว
3 ปีก่อนมาโรงพยาบาล ก้อนเนื้อบริเวณตาโตมากขึ้น ผู้ป่วยตัดสินใจมาพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นต้อเนื้อ และทำการรักษาโดยการใช้ยาหยอดตา และสวมแว่นตาป้องกัน ไม่ได้ทำการผ่าตัดเนื่องจากไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
1 ปีก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตามัว การมองเห็นแคบลง มองในที่สว่างไม่ค่อยชัด อาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มีอาการระคายเคืองตาร่วมด้วย
วันนี้จึงตัดสินใจมาพบแพทย์
Past history
ปฏิเสธโรคประจำตัวใดๆ
ปฏิเสธการแพ้ยาแพ้อาหาร
ปฏิเสธการได้รับการผ่าตัดก่อนหน้านี้
ปฏิเสธการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
ปฏิเสธการรับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน
Family history
ปฏิเสธโรคใดๆในครอบครัว รวมถึงโรคทางพันธุกรรม
Physical Examination
Vital signs : BT 37.2 PR 82 RR 19 BP 130/80
GA: A Thai man , good consciousness , not pale conjunctivae , anicteric sclera , no cyanosis
Heart : normal s1 s2 , no murmur , apical beat at 5th interostal space mid clavicular line
Lung : normal breathing , normal chest wall expansion ,normal breath sound , no wheezing , no crepitation
Abdomen : No mass , normoactive bowel sound , soft , not tender
Extremities : normal skin , no rash , normal sensory and motor function of lower and upper limbs
Eye examination
Eyelid :
Conjunctiva : mild diffused conjunctivitis , pterygium both eyes at nasal part of conjunctivae both invade cornea
Cornea : normal , no scar , normal anterior chamber
Lense : clear
Pupil : 2 mm in diameter both react to light
VA : right eye 20/70 PH 20/20
left eye 20/70 PH 20/20
RAPD negative
EOM movement : normal movement , no limitation
Fundus examination : normal both eyes
แพทย์วินิจฉัยว่าการมองเห็นไม่ชัดเกิดจากต้อเนื้อที่ใหญ่ขึ้นและลามเข้าสู่กระจกตา แพทย์เล็งเห็นว่ามีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต้อเนื้อในผู้ป่วยรายนี้ ผู้ป่วยจึงตัดสินใจทำการผ่าตัด แต่ในการผ่าตัดนั้น ต้อเนื้อมีโอกาสเป็นซ้ำใหม่ได้ แพทย์จึงแนะนำแนวทางการป้องกันการเกิดขึ้นใหม่ของต้อเนื้อ ซึ่งมี 2 วิธีคือการใช้ conjunctival autograft กับ amniotic membrane graft มาแปะบริเวณที่ผ่าตัด ผู้ป่วยได้ขอคำแนะนำในการตัดสินใจในการเลือกใช้graft
Question
การใช้ conjunctival autograft กับ amniotic membrane graft มาแปะบริเวณที่ผ่าตัด excision ในผู้ป่วย pterygium อายุ45ปี วิธีใดที่จะสามารถป้องกันการrecurrent ของ pterygium ได้ดีกว่ากัน
P: ผู้ป่วยชายไทยอายุ45ปี ทำการผ่าตัดลอกต้อเนื้อด้วยวิธีexcision
I: การใช้ amniotic membrane graftมาปะลงบริเวณตาขาวที่ได้รับการลอกต้อเนื้อออกไปแล้ว
C: การใช้ conjunctival autograft ปะลงบนตาขาวที่ได้รับการลอกต้อเนื้อออกไป
O:วิธีใดจะสามารถกันการrecurrentได้ดีกว่ากัน
No comments:
Post a Comment