Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


06/07/2010

Assignment1 Case1 นศพ.ปิยะโชค พรหมสุทธิ์ 4910310093

Case1 (Treatment):ชายไทย อายุ 45 ปี
CC.: ปวดท้อง 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล
PI: 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณใด ไม่มีเรอเปรี้ยว บางครั้งมีปวดแสบๆ
ไม่มีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ
1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ยังมีอาการปวดอยู่ กินยาไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
PH:เคยมีอาการปวดท้องแบบนี้เป็นประจำ
กินอาหารไม่ตรงเวลา
ดื่มเหล้าวันละ ครึ่งขวด เป็นเวลา 3 ปี
สูบบุหรี่วันละ 10 มวน เป็นเวลา 5 ปี
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร

PE:V/S-BT36.7c,PR 80/min,RR 18/min,BP 110/70 mmHg
HEENT : not pale, no jaundice
Abdomen : soft, not tender, no guarding
Other : WNL
ประเด็นปัญหาทางคลีนิก
การ รักษา peptic ulcer แพทย์มักจะให้ ยากลุ่มลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ยาที่เคลือบผิวผนังกระเพาะอาหารไว้ เช่น ยา Cimetidine Ranitidine Omeprazole ร่วมกับ Alum milk ซึ่งเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการร่วมกับการให้ผู้ป่วยลดพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการ
ทำให้ผู้ป่วยย้อนกลับมาหาแพทย์ด้วยอาการเดิมเป็นประจำ

Problem:การให้ Antibiotic อย่างเดียวหรือให้ร่วมกับ antacid
จะช่วยลดการเกิดโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังดีกว่าการให้ antacid อย่างเดียวหรือไม่
P:ผู้ป่วยที่เป็น peptic ulcer
I:การให้ antibiotic อย่างเดียว/ร่วมกับ antacid
C:การให้ antacid เพียงอย่างเดียว
O:ลดการเกิดโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง

2 comments:

Effy said...

เป็นการสงสัยที่ดีแต่อาจจะต้องดู risk ว่าให้ในคนไหน

Onnida said...

น่าสนใจดี แต่มันควรจะตั้งเกณฑ์ผู้ป่วยให้แคบกว่านี้มั้ยอ่ะ