Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


14/09/2014

EBM รพ ระโนด 2557 (prognosis) แก้ไขค่ะอาจารย์


case เด็กชายไทย อายุ 15 ปี อาชีพ นักเรียน


เด็กชายไทย อายุ 15 ปี อาชีพ นักเรียน
CC ชักเกร็งกระตุกมา 15 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
PI
        15 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว เป็นเวลาประมาณ 2 นาที มีตาเหลือก น้ำลายฟูมปาก ไม่มีอุจจาระปัสสาวะราด ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ก่อนชักรู้สึกเวียนศีรษะ ขณะชักมาดาเรียกไม่รู้สึกตัว หลังชักดูซึมลง จำเหตุการณ์ไม่ได้และอ่อนเพลีย 
PH เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก เมื่อ 3 เดือนก่อน
ปฏิเสธประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร

ปฏิเสธการได้รับอุบัติเหตุ 
ปฏิเสธประวัติการติดเชื้อในสมอง หรือการผ่าตัดทางสมอง
ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 
ปฏิเสธประวัติดื่มสุรา สูบบุหรี่
FH
ไม่มีประวัติชักในครอบครัว

ปฏิเสธโรคทางพันธุกรรม
PE
V/S : BT 36.7 C BP 110/70 mmHg 

GA Good conscious
HEENT Not pale, anicteric sclera
Heart Normal s1 s2, no murmur
Lung Clear and equal breath sound both lungs 
Abdomen Normoactive bowel sound ,soft not tender, no guarding ,no rebound tenderness
Extremity No pitting edema
Neuro-examination Motor power grade V all extremity, 
Sensory intact , pupil 3 mm both reaction to light, Babinski sign negative,
Deep tendon reflex 2+, stiff neck negative

Clinical Question

เด็กที่เป็นโรคลมชัก มีอัตราการเสียชีวิต เพิ่มมากขึ้นใช่หรือไม่

PICO

P: ผู้ป่วยโรคลมชักที่มีอายุ < 20 ปี
I: ติดตามไป 50 ปี
C: -
O:  อัตราการเสียชีวิต

วิธีการ search paper

1. เข้า www.pubmed.gov
2. พิมพ์ Mortality Childhood Epilepsy และกด search ได้ paper ที่เกี่ยวข้อง 250 papers
3. limitation โดยกด limits ตามหัวข้อใน box คือ 
    - text availability --> free full text
    - publication date --> 5 years
    - species --> human
    - languages --> english
   หลังจาก limitation พบว่าเหลือ paper ที่เกียวข้อง  23 papers
4. ศึกษาหัวเรื่องงานวิจัยพบว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5 งานวิจัย ประกอบด้วย meta-analysis 1 งานวิจัย ที่เหลือเป็น observational study และเมื่อศึกษา methodology พบว่า paper ที่เลือกทำการศึกษามีระยะเวลาในการติดตามนานที่สุด จึงเลือก paper นี้
งานวิจัยที่เลือกคือ  "Long-Term Mortality in Childhood-Onset Epilepsy"

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21175314




5 comments:

Unknown said...

เพื่อนสามารถนำปัญหาที่ได้จากการเยี่ยมบ้านมาตั้งคำถามในการหางานวิจัยได้ดี แต่คิดว่า PICO ยังกว้างไป สามารถตั้งให้จำเพาะเจาะจงได้มากกว่านี้

Unknown said...

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจครับ เป็นเรื่องที่พื้นฐานมาก ที่หลายคนอาจลืมสนใจไป แต่เป็นจุดที่เป็นประเด็นสนใจของคนไข้ ผลงานวิจัยจะช่วยได้มากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันเบาหวาน
มีประเด็นสงสัยว่า พอมีงานวิจัยเกี่ยวกับการนอนน้อย แล้วทำให้เป็นหวัดบ่อยขึ้นบ้างมั้ย จากประวัติคนไข้ที่ให้มา น่าจะเกี่ยวข้องกัน ^^

Hathaitip Tumviriyakul said...

การเ
ือกที่จะอ่านmeta analysis นั้นเป็นเรื่องที่ดีคะ แต่สำหรับการฝึกฝนในช่วงปี5 นั้น ถ้าเป็นกลุ่มที่ได้รับโจทย์ prognosis อาจลดระดับมาเลือกindividual paper ที่น่าสนใจ เหมาะส ที่สุดมาอ่านก่อนคะ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นทุกกลุ่มจะเลือก Systematic revie w มาอ่านหมด

Unknown said...

คำถามน่าสนใจมากค่ะ ตั้ง PICOดี แต่ว่างานวิจัยที่ได้มานั้น จากหัวข้อไม่ได้ระบุว่าเป็นDM Type2 จึงอาจจะเป็นการวิจัยแบบรวมๆ อาจไม่ตรงกับคำถามที่ตั้งไว้มากนักค่ะ :)

Unknown said...

ความคิดเห็นสำหรับงานวิจัยใหม่นะคะ เรื่อง Epileptic child

คิดว่าคำถามยังกว้างไป
น่าจะถามว่า หลังการวินิจฉัยโรคลมชักในเด็กต่ำกว่า....ปี มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

ในส่วนของ Pateint น่าจะระบุให้ชัดว่า เด็กที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็น epilepsy คืองานวิจัยน่าจะประเมินตั้งแต่หลังวินิจฉัย คิดว่าเด็กที่เคยรักษามาแล้วจะส่งผล mortality rate เปลี่ยนไป

เวลาน่าจะระบุเป็นภายในกี่ปีก็น่าจะดีค่ะ