Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


05/07/2010

ASSIGNMENT 1 อ้อมอก บุณยนิตย์

CASE 1: เด็กชายอายุ 3 เดือน มาด้วยไข้ ซึมลง กินนมได้น้อย

CC : ไข้ซึมลง มา 1 วัน PTA

PI :
3 วัน PTA ผู้ป่วยเริ่มมีไข้สูง ตัวร้อนมาก แม่ได้เช็ดตัว ลดไข้ ร่วมกับให้ยาลดไข้ ไข้ลงดี แต่หลังจากนั้นไม่นานก็กลับไปสูงขึ้นอีก ผู้ป่วยมักร้องเวลาปัสสาวะ
1 วัน PTA แม่สังเกตผู้ป่วยเริ่มซึมลง กินนมได้น้อย ปัสสาวะสีเข้มขึ้น ยังมีไข้สูง จึงพามา รพ.

PH :
- Denied Underlying disease
- Denied food or drug allergy
- NL BW = 3,650 g no complication
- Complete vaccination last age 2 month
- Developement normal
- Nutrition Breast feeding only

PE :
Vital signs : BT 39 c PR 160/min RR 50/min BP 65/45 mmHg
GA : drowsiness
HEENT : normal
Heart & Lung : normal
Genitalia : Phimosis
Others : WNL

ประเด็นทางคลินิก
ปกติในเด็กที่มีอาการคล้าย sepsis จะมีการส่ง investigation ทั้ง hemoculture
และ C-reactive protein และผล C-reactive protein มักจะ positive ในรายที่มีผล
hemoculture ขึ้นเชื้อ

ปัญหาทางคลินิก
C-reactive protein มีความแม่นยำในการวินิจฉัยภาวะ sepsis ในเด็กหรือไม่

P : children
I : C-reactive protein
C : Hemoculture
O : การวินิจฉัยภาวะ sepsis


CASE 2 : เด็กชายไทยอายุ 6 ปี มาด้วยอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น

CC :หอบเหนื่อยมากขึ้น 4 hr ก่อนมาโรงพยาบาล

PI :
1 วันก่อนมารพ. ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ต่ำ ไอ มีน้ำมูกใสเล็กน้อย แม่ให้รับประทานยาลดไข้ ไข้ลงดี ไม่ได้พาไปพบแพทย์ อาการอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4 ชั่วโมงก่อนมารพ. ผู้ป่วยมีอาการไอมากขึ้น เริ่มมีหายใจเร็ว หน้าอกบุ๋ม แม่ได้ยินเสียงหวีดเวลาหายใจเร็ว พ่นยาไป 2 ครั้ง อาการไม่ดีขึ้น ยังหายใจเร็ว หน้าอกบุ๋มอยู่ จึงพามารพ.

PH :
- Knows case Asthma Control with Ventolin MDI prn
- Denied food & drug allergy
- แม่เป็นโรคหอบหืด

PE :
Vital signs : BT 38 c , PR 100/min , RR 30/min , BP 90/60 mmHg
GA : Consciousness
HEENT : not pale, no jaundice
Lung : Suprasternal notch retraction, expiratory wheezing both lungs.
Others : WNL

ประเด็นทางคลินิก
ตามแนวทางการรักษา asthma หลังจากรักษาด้วย bronchodolator และ
systemic steroid แล้วถ้าผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นจะมีการให้ Bricanyl SC
แต่บางแห่งเชื่อว่าการให้ Bricanyl SC ไม่มีประโยชน์ในการรักษา acute asthmatic attack

ปัญหาทางคลินิก
การให้ Bricanyl SC ช่วยในการรักษา acute asthmatic attack ในเด็กหรือไม่

P : children
I : Bricanyl SC
C : ไม่ฉีด Bricanyl
O : clinical ผู้ป่วยดีขึ้น

3 comments:

Wasin Kampeera said...

CASE 1

ในเด็กที่สงสัย sepsis จำเป็นต้องส่ง Hemoculture อยู่แล้ว
เพื่อช่วยในการวินิจฉัย หาเชื้อ และ Sensitivity ของยา
และเริ่ม Start Antibiotic ทันที โดยดูจากแนวโน้มว่าจะเกิดจากเชื้อตัวใด
หลังจากนั้นจึงรอผล Hemoculture เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

การส่ง C-reactive protein เป็น Investigation ที่ได้ผลเร็วกว่า
ถ้า มีความแม่นยำในการวินิจฉัยภาวะ Sepsis จริง อาจจะทำให้
มีผลต่อการวางแผนการรักษาได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอผล Hemoculture

แต่ความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าผลของ C-reative protein ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลง Management ของ Sepsis

Tipwadee said...

คิดเหมือนคห.แรกค่ะ ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลง management ของ Sepsis

Onnida said...

case 2 นี่ถ้าพ่นยาก่อนได้หรือปาวอ่ะ ในกรณีที่เปน mild แต่ถ้าจะทดลองลองจำกัดกลุ่มเพิ่มดีมะ เช่น เปน moderate to severe