Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


06/07/2010

Assignment1 Case2 นศพ.ปิยะโชค พรหมสุทธิ์ 4910310093

Case 2 (Diagnosis): ชายไทย อายุ 40 ปี อาชีพขับรถรับจ้าง
C.C.: ปวดหลัง 3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล
PI: 3 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขาทั้ง 2 ข้าง
ปวดจะเป็นมากเวลานั่งนานเช่นนั่งขับรถนานจะปวด
โดยเฉพาะตอนลุกออกจากรถ ไอจามเบ่งมักปวดขึ้น
มีอาการชาที่ปลายเท้าร่วมด้วย กินยาแก้ปวดไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
PH:ปฏิเสธโรคประจำตัว
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร
ปฏิเสธประวัติอุบัติเหตุใดๆ

PE:V/S-BT36.1c,PR 80/min,RR 20/min,BP 120/80 mmHg
Extremities : loss L5-S1 both leg and foot
Straight leg raising test : positive
Other : WNL
ประเด็นปัญหาทางคลีนิก
ปัญหาปวดหลังร้าวลงขาเนื่องจากหมอนรองกระดูกทับเส้นเป็นปัญหาที่พบบ่อย
การวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะพบปัญหาได้ในผู้ที่ตรวจ Straight leg raising test ได้ผล positive
อาจพบได้ใน ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาและในโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่บริเวณสะโพกเช่นเดียวกัน
ทำให้วินิจฉัยผิดได้ แม้ว่าการรักษาจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่ก็ยังไม่ได้รักษาที่สาเหตุ การวินิจฉัย
หมอนรองกระดูกทับเส้นนั้นจะใช้ CT MRI หรืออาจใช้ spine x-ray ช่วยวินิจฉัย ซึ่ง Gold standard ในการวินิฉัยคือ MRI แต่มีราคาที่ค่อนข้างสูง และไม่อาจบอกถึงการกดทับของหมอนรองกระดูก จึงทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้

Problem : การทำ Straight leg raising test มีความแม่นยำมากเพียงใดเมื่อเทียบ Investigation ต่างๆ เช่น x-ray(spine) CT MRI

P: ผู้ป่วยที่เป็น หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
I: Straight leg raising test
C: Investigation ต่างๆ เช่น x-ray(spine) CT MRI
O: accuracy for diagnosis lumbar disc herniation

1 comment:

Anantachai Jaisaby said...

เป็นการตั้งคำถามที่สามารถนำไปใช้ได้จริงถ้ามีevidence base มารองรับแต่ในความคิดผมน่าจะเลือกเปรียบเทียบinvestigationแค่อย่างเดียว