Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


27/06/2009

Assignment I โดย กาญจนา

Diagnosis Case
by… นศพ.กาญจนา โก๊ยดุลย์

ชายไทย อายุ 36 ปี
CC: ปวดท้องมาก 1 วัน PTA
PI: 3 วัน PTA มีอาการปวดท้องแบบตื้อๆบริเวณรอบสะดือ ปวดเป็นพักๆเป็นๆหายๆ กินยาแก้ปวดแล้วอาการดีขึ้น เบื่ออาหาร ไม่มีไข้ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน
1 วัน PTA มีอาการปวดท้องมากขึ้นโดยย้ายมาปวดบริเวณด้านขวาล่าง มีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายปัสสาวะและอุจจาระปกติดี
PH: เป็นโรคความดันโลหิตสูง 4 ปี ควบคุมด้วยอาหาร ไม่ได้ใช้ยาใด
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร ปฏิเสธประวัติการได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่องท้อง
เคยสูบบุหรี่ ปัจจุบันเลิกมา 5 ปีแล้ว (เดิมสูบวันละ 10 มวน เป็นเวลา 19 ปี)
ปฏิเสธประวัติดื่มสุรา
PE:
V/S: BT 38.1 °C, PR 94/min, RR 20/min, BP 122/70 mmHg
GA: Thai male, good consciousness, well co-operated, look fatigue
Abdomen: soft, active bowel sound, tender at RLQ with guarding, rebound tenderness positive, no ascities
Other: WNL
Lab:
CBC : Leukocytosis with Neutrophil predominate

แพทย์สงสัย Appendicitis ประเมิน Alvarado Score = 8 แปลผลว่า probable to diagnosis (migration of the pain to the RLQ[1] = 1, anorexia[1] = 1, nausea and vomiting[1] = 0, tenderness at RLQ[2] = 2, rebound pain[1]= 1, elevate temperature[1]= 1, leukocyosis[2]= 2, shift of the WBC to the left[1] = 0) แพทย์ plan ทำ Appendectomy

Patient or Problem: Patient with RLQ pain
Intervention: Alvarado score
Comparison intervention: -
Outcome: histological diagnosed to have appendicitis

Question: การใช้ Alvarado Score ในผู้ป่วยที่มาด้วย RLQ pain มีความแม่นยำเพียงไรในการวินิจฉัย Appendicitis

1 comment:

chatchadaporn said...

ดีมากเลยที่ทำเรื่องนี้เพราะเราสงสัยมานานแล้ว เพราะมีหลายกระแสเหลือเกินอาจารย์างท่านก็เชื่อ Alvarado score บางท่านก็ปฏิเสธสุดฤทธิ์ จะได้รุกันไปเลยซะทีว่าเชื่อได้หรือไม่ อิอิ แอบแรงนิดนึง

แต่น่าจะแก้ไขตรงตัวโดยเพิ่มตรงตัว C น่ะ
C: แบบว่าเทียบกับชื้นpathology ไง น่าจะกำหนดด้วย ไม่น่าเว้นว่างเฉยๆๆจ้า