Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


09/07/2007

EBM : นศพ.ศิริลักษณ์ ~ Smell incredible ^0^
...ร่วมด้วยช่วยกันนะ พี่น้อง ..สงสารเด็กน้อยตาดำๆ นะก้าช่วยมาเม้น กันนะค้า~

Case หญิงไทยคู่ อายุ 23 ปี G1P0A0, GA 41 weeks by LMP
CC : 6 hr PTA Labor pain

First anc GA 28 สัปดาห์ ฝากครรภ์ 7 ครั้ง no complication during pregnancy,deny Hx.STD,deny underlting disease

PE : Vital signs: BT 36.8 c, BP 100/60 mmHg, PR 70 /min, RR 20 /min
Weight 60.5 kg, height 151 cm FH 3/4 above umbilicus, vertex, OL
Uterus Contraction: Interval 3 min 20 sec, Duration 40 seconds, Intensity 2+, FHR 140 bpm with regular rhythm
PV (Cervix): Soft consistency, dil 2 cm, eff 70%, station -2, MI

LAB: Hct 37 %, urine albumin-ve, urine sugar –ve, Anti-HIV NR, VDRL NR, HBsAg –ve, OF / DCIP -ve

สำหรับผู้ป่วยรายนี้ เป็น true labor pain จัดว่าอยู่ใน latent phase ได้ทำ Non-stress test ผลที่ได้ คือ reactive และไม่พบ late deceleration แสดงว่าไม่มีภาวะ fetal distress หรือ fetal asphyxia จึงไม่มีภาวะเร่งด่วน ที่ต้องเร่งคลอด
แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิด fatal distress ได้จาก near post term จึงมี active management ในผู้ป่วยรายนี้ ได้ ARM (clear) และให้ Oxytocin PV Cx dil 3 cm Eff 80% station 0, Bishop score เท่ากับ 7 เริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าระยะ active phase ใน 5 ชั่วโมงต่อมา PV อีกครั้ง Cx dil 4 cm Eff 100% station 0 ดังนั้นใช้เวลา 15 ชั่วโมงใน latent phase

หลังจากนั้นผู้ป่วยมีปัญหาเรื่อง contraction คือมี Interval 1 min 40 sec, duration 45 sec จึงหยุด oxytocin และติดตาม contraction พบว่ามี Interval 2 min 50 sec, duration 45 sec ตลอด

PV อีกครั้ง Cx dil 9 cm effacement 100% station +1 อีกเมื่อเวลา 24.30 น.และไม่มีการพัฒนาจนถึงเวลา 03.00 น. รวมเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งจัดว่ามีภาวะ
“ Secondary arrest of dilatation ” (เกณฑ์ใน nulliparas > 2 hr.)

จากทั้งหมดนี้เอง แพทย์จึงสรุปว่า ในผู้ป่วยรายนี้สมควรที่จะใช้วิธีการคลอด ด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง (Cesarean section)

ปัญหามานอยู่ที่ว่ารู้ได้ไงล่ะ ว่าผุ้ป่วยเป็น CPD ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยตรวจ Pelvic inlet , pelvic outlet กันเรย ~ ได้ยินว่าที่มอ.เค้าใช้ clinical practice guildline มันเป็นหยังก๊ะ...แล้วมานแน่นอนแค่ไหนนะ ใครรู้ช่วยชี้แจงแถลงไขหน่อยนะค้า

6 comments:

Medypanchat said...

ฮาโหลๆ มาช่วยปั่นกระทู้
มาจองที่ให้นกด้วย เด๋วนกมาตอบนะ รอซักครู่
กะลังค้นคว้า เครื่องร้อนแร้ววว

annok_meddy said...

ข้อมูลจากไพพรรณ ศิริพร
ได้ยินมาว่า....
การ diag ว่า ผู้ป่วย อยู่ในภาวะ dystocia หรือ dysfunctional labor นั้นมักจะเป็นการศึกษาแบบ retrospective เพราะเราไม่มีโอกาสทราบได้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
จากความรู้ Background ในสูติศาสตร์เชียงใหม่กล่าวไว้ว่า เกิดจากความผิดปกติ 3 ข้อ คือ...
1.abn power
2.abn passage
3.abn passenger
และการจัดว่าผู้ป่วยมีภาวะ “Secondary arrest of dilatation” นั้นก็เข้าถูกต้องแล้วว่า ในท้องแรกต้องมากกว่า 2 hr
ซึ่งจากการศึกษา ตาม Clinical practice guideline for C/S due to CPD
ของ suwicha chittithavorn MD, Sutham Pinjaroen MD และคณะ จาก มอ.ของเรานี้เอง
จากข้อมูล CPG สามารถทำนายภาวะ Cephalopelvic disproportion จาก
1.มี Cervix dilate มากกว่า 4 ซม. Effacement มากกว่า 80 %
2.มี Good uterine contraction มากกว่า 2 ชั่วโมง
3.มี Secondary arrest of dilatation
ดังนั้นไม่จำเป็นต้องตรวจ pelvic inlet , pelvic outlet ก็สามารถDiag CPD ได้นะ
แต่ไม่แน่ใจนะ.....เดี๋ยวเราจะเอา Journal ของเราไปให้คุณ ศิริลักษณ์อ่านที่ห้องละกัน

farsai said...

ฟ้าใส มะรู้ของมอ.หรอกแต่หามาจากhttp://www.americanpregnancy.org
คือ คิดถึงพวกที่มีปัจจัยเสี่ยงก่อน
Large baby
Hereditary factors
Diabetes
Postmaturity
Multiparity
Abnormal fetal positions
Small Pelvis
Abnormally shaped pelvis
คนนี้มี risk : Postmaturity
แล้วมาลองดูว่าเข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้หรือเปล่า
1. ปากมดลูกเปิดอย่างน้อย 4 เซนติเมตรขึ้นไป และบางตัวอย่างน้อยร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. มดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมอและแรงพออย่างน้อย 2 ชั่วโมง
3. การดำเนินการคลอดผิดปกติ คือมี protraction disorders หรือ arrest disorders
การวินิจฉัย CPD หรือ lack of progession จะต้องมีครบทั้งสามข้อจึงวินิจฉัยว่าเป็น CPD แล้วพิจรณาc/s เลยจ้า

Jaturan said...

ปานได้ข่าวว่ามาจองที่ให้ชีเหรอ มาป่วนด้วยคน

Geunyoung said...

ขอบใจมากนะเพื่อนๆๆ

ตุ๊..คิดถึงสูติมะ อิ้ววววว

DNU ENICIDEM said...

จากการโดนถามตอนroundสูติฯ จำได้ว่า เราต้องพิจารณา power,passage,passenger จากผู้ป่วยรายนี้เห็นว่าpowerไม่มีปัญหา เนื่องจากI/D=1'40"/45" ดังนั้นปัญหาจึงจะอยู่ที่ passage และ passenger แต่ทั้งหมดทั้งมวล ผู้ป่วยต้องเข้าactive phase แล้ว