Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


09/07/2007

Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Assignment I

Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Assignment I

Therapeutics by นศพ.สุภาวรรณ ตันติหาชัย

PP: หญิงไทย อายุ30ปี G1P0 GA38 wks by LMP
CC: เจ็บท้องคลอดมา1ชั่วโมงPTA
PI: 16 ชั่วโมงPTA สังเกตว่ามีน้ำไหลจากช่องคลอดเปื้อนผ้าถุงจำนวนมาก ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีเลือดปนเข้าใจว่าเป็นปัสสาวะ เมื่อเปลี่ยนผ้าถุงแล้วหลังจากนั้นก็ยังมีน้ำไหลซึมๆบ้างเล็กน้อย
1 ชั่วโมง PTA มีอาการปวดท้อง ค่อยๆปวดถี่มากขึ้น ขณะปวดจะมีท้องแข็งเกร็งร่วมด้วยจึงมารพ.
PE:
Vital signs: BT 37.2 c, BP 110/70 mmHg, PR 80 /min, RR 21 /min
Fundal height 3/4 above umbilicus, vertex, OLUterus Contraction: Interval 5 min, Duration 40 seconds, Intensity 2+, FHR 145 bpm with regular rhythm
PV (Cervix): Soft consistency, dilatation 4 cm, effacement 70%, station -2, Membrane rupture
Cough test :negative, Nitrazine test:positive
LAB: Hct 36 %, urine albumin -ve, urine sugar –ve, Anti-HIV NR, VDRL NR, HBsAg –ve, OF / DCIP –ve
เมื่อรับผู้ป่วยไว้ในห้องคลอดก็ได้มีการให้ oxytocin เพื่อให้มดลูกมีการบีบตัวดีขึ้น และเร่งการคลอด ระหว่างนี้ประเมินทารกในครรภ์เป็นระยะ ทารกไม่มีภาวะfetal distress หลังจากนั้นอีกประมาณ 7ชม.ผู้ป่วยก็มีFully dilatation ได้คลอดด้วยวิธีnormal labourได้ทารกเพศชาย แรกคลอดนั้นเด็กมีAPGAR scoreดี แต่ต่อมาอีกประมาณ1ชม. พบว่าเด็กมีไข้ (BT= 38.2) สงสัยภาวะsepsis จึงย้ายเด็กไปNICU

คำถาม : การให้antibiotics ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำเดินมานานมากกว่า18 ชั่วโมง จะช่วยป้องกันภาวะsepsisในทารกแรกเกิดได้หรือไม่

3 comments:

kittisak said...

วัตถุประสงค์หลักในการให้ antibiotics ในมารดา prolong PROM คือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในโพรงมดลูกจากการลุกลามของเชื้อในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง สำหรับผลต่อทารกคือเพื่อยืดอายุครรภ์และเพื่อลดอัตราการเกิด sepsis(1)
แนะนำให้ใช้ยาในระหว่างอายุครรภ์ 24-32wk ยาที่ให้คือ ampicillin2g IVครั้งแรกและ 2g IV ทุก 6hr+erythromycin250mg IV ทุก6hr ทั้งสองชนิดให้นาน 48hr ถ้าผู้ป่วยยังไม่คลอดภายใน48hr ให้amoxicillin250mg+ erythromycin base 333mg oral ทุก 8hr
พบว่าการให้ยาจนครบ 7 วันกับให้จนครบ 3วันมีผลลดอัตราการเกิด sepsis ในทารกไม่แตกต่างกัน(2)
อ้างอิง
(1)Klein LL,Gibbs RS.Use of microbial cultures and antibiotics in the prevention of infection associated preterm birth. Am J Obstet Gynecol 2004;190:1493-502.
(2)Segel SY,Miles AM.Duration of antibiotic therapy after preterm premature rupture of fetal membranes.AM J Obstet Gynecol 2003;189:799-802.

ning said...

การวินิจฉัย neonatal sepsis นั้นจะต้องมีอาการทาง clinic ของ sepsis ที่สำคัญคือ ทารกมีอาการ not breathing well, not feeding well และ not looking well ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงระหว่าตั้งครรภ์ของมารดาและการคลอดรวมทั้งผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัย ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้มี major riskของ early onset neonatal sepsis คือ มีน้ำเดินมานานมากกว่า18 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ตามจะต้องส่ง lab เพิ่มเติม เช่น CBC, mESR, blood culture, U/C เป็นต้น เนื่องจากทารกรายนี้ มีอาการไข้เพียงอย่างเดียวซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น dehydration ,extensive nhemorrhage เป็นต้น ดังนั้นในทารกรายนี้มีอาการและอาการแสดงยังไม่ค่อยเหมือนกับ neonatal sepsis อาจจะต้องรอobserveอาการและ labต่อไป และจากคำถามเกี่ยวกับการให้ antibioticในผู้ป่วยรายนี้ซึ่งเป็น term PROM ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของ Flenady V, King J. Antibiotics for prelabour rupture of membranes at or near term. Cochrane Database of Systematic Reviews 2002, Issue 3. Art. No.: CD001807. DOI: 10.1002/14651858.CD001807 พบว่า The review of trials found that routine antibiotics for term PROM reduce the risk of infection for the pregnant woman, but there is not enough strong evidence about other outcomes (including infections and complications for the baby). ดังนั้นการให้antibiotics ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำเดินมานานมากกว่า18 ชั่วโมง จึงยังไม่มี evidence ในการช่วยป้องกันภาวะsepsisในทารกแรกเกิด
Post by นศพ. ขวัญชนก

Geunyoung said...

อันนี้นะเราว่า

เห็นด้วยกะป้าหนิงอย่างแรงล่ะค้า

ที่สำคัญ..อยากถาม ไม่รู้ดิตอนนี้ยังนึกไม่ออก