Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


08/07/2007

Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Assignment I

Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Assignment I
การรักษา วาริตา บุญจงเจริญ
Patient profile ผู้ป่วยหญิง อายุ 30 ปี
C.C. มีเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระประมาณ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล
P.I. 3 วันก่อน มีอาการถ่ายเป็นเลือดสดหยดตามหลังการถ่ายอุจจาระ ขณะถ่ายอุจจาระจะมีก้อนยื่นออกมาและสามารถกลับเข้าไปเองได้ ไม่มีอาการปวดใดๆ
P.H. เคยเป็นโรคริดสีดวงทวารมาแล้วประมาณ 2 ครั้ง รักษาโดยการใช้ยาเหน็บและการฉีดยา
ปฏิเสธโรคประจำตัวใดๆ
ปฏิเสธการแพ้ยาแพ้อาหารใดๆ
Proctoscopy internal hemorrhoid grade 2
Diagnosis
internal hemorrhoid grade 2
Treatment
Sclerosing therapy
คำถาม
การรักษา internal hemorrhoid grade 2 ด้วย Sclerosing therapy หรือ rubber band ligation สามารถลดการกลับมาเป็นโรคริดสีดวงอีกครั้งได้มากกว่ากัน

4 comments:

Geunyoung said...

rubber band ligation ลดได้มากว่านะตามที่เคยอ่าน paper อ่า

Worathima8585 said...

ขอตั๊กลองมั่วด้วยคนนะโบว์

อ่านจบปั๊บ
ตองทบทวนความรู้พื่นฐานอันน้อยนิดของตัวเองหน่อย
(คิดได้ดังนั้นก็กลับไปอ่าน lecture rectum and anus by อ. ศักดา)
เพื่อเป็นการ confirm ว่าที่มีอยู่น้อยนิดนั้น ยังพอใช้ได้อยู่บ้าง

คร่าวๆคือ
- ชนิดของ hemorrhoid ที่อยู่ในเคสนี้คือ
internal hemorrhoid grad2 ซึ่ง ก็คือ ก้อนออกมาเองได้ ก็กลับเข้าไปเองได้ (Prolapses with defecation, but returns on its own)

- ปกติแนวทางการรักษา hemorrhoid แบ่งให้เข้าใจง่ายก็ได้เป็น 2แนวทาง คือ
1.การรักษาทั่วไป ซึ่งเป็นการแนะนำหลักสำหรับผู้ป่วย anorectal disease นั่นคือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งการรับประทานอาหารและการขับถ่าย
2.การรักษาจำเพาะเจาะจง ส่วนนี้รวมถึงการผ่าตัด , rubber band ligation และ sclerosing agents ตามที่อยู่ในเคสนี้ด้วยนั่นเอง

ทั้งสองอย่างมีข้อดีข้อเสีย เป็นของตัวเอง (ไม่ได้บอกว่าอะไรดีกว่าอะไร)การเลือกใช้วิธีการรักษาก็ไม่ได้มีจำกัดเป๊ะๆ ว่าต้องเลือกใช้อย่างไหน เพียงแต่บอกคร่าวๆ ว่าขึ้นอยู่กับชนิด หรือระดับที่ผู้ป่วยเป็น เนื่องจากการจะตัดสินอะไรสักอย่าง เราต้องรู้จักวิธีนั้นๆสะก่อน เพื่อเป็นการยุติธรรม ทั้งสองฝาก
ดังนั้นลองมาดู รายละเอียดของทั้งสองวิธีนี้

a. การฉีดยา sclerosing agents
วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้หัวริดสีดวงยุบลง โดยฉีดยาเข้าไปใน ชั้นใต้เยื่อบุ (submucosa) ในระดับที่อยู่เหนือ dentate line ทำให้เกิดพังผืดรัดเส้นเลือด บริเวณริดสีดวง และรั้งเนื้อเยื่อริดสีดวงไม่ให้เลื่อนตัวลงมา
ข้อบ่งชี้
1. มีเลือดออก
2. หัวริดสีดวงที่ย้อยไม่มาก
ยาที่ใช้ฉีด (sclerosing agents)
5 % phenol in vegetable oil
1% polidocanol in ethanol
ตำแหน่งที่ฉีด บริเวณริดสีดวงทวารแต่ต้องเหนือ dentate line เสมอ
จำนวนหัวที่ฉีด ไม่เกิน 3 ตำแหน่ง ต่อครั้ง
จำนวนยาที่ใช้ ตำแหน่งละประมาณ 2-3 มล.
การฉีดซ้ำ ทุก 2-4 สัปดาห์ จนอาการทุเลา
การดูแลรักษาหลังฉีดยา ให้การรักษาระดับทั่วไป
ผลข้างเคียง อาจทำให้เวียนศรีษะ และระคายเคืองทวารหนักเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ได้

b.การใช้ยางรัด (rubber band ligation)
วัตถุประสงค์ เพื่อรัดให้หัวริดสีดวงหลุดออก และพังผืดที่เกิดจากแผลจะรั้งริดสีดวงที่เหลือให้หดกลับเข้าไปในทวารหนัก
ข้อบ่งชี้
หัวริดสีดวงที่ย้อย และมี ขั้วขนาดเหมาะที่จะรัดได้
ข้อพึงระวัง
1. ไม่ควรทำในรายที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ
2. ไม่ควรทำในรายที่ ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
เครื่องมือ
1. คีมจับริดสีดวงทวาร
2. เครื่องรัดริดสีดวงทวาร (rubber band ligator)
3. ยางรัด
4. proctoscope (anoscope)
ตำแหน่ง รัดที่ขั้วริดสีดวง ซึ่งควรจะอยู่เหนือ dentate line ประมาณ 1 ซม.
จำนวน ครั้งละตำแหน่ง หรือมากกว่า แต่ไม่ควรเกิน 3 ตำแหน่ง
การรัดเพิ่มเติม ทำได้ทุก 3-4 สัปดาห์
การดูแลรักษาหลังการรัดยาง
1. ถ้ามีอาการเจ็บมากควรจะต้องเอายาง ที่รัดออกโดยทันที
2. ให้การรักษาระดับทั่วไปร่วมด้วย
ผลข้างเคียง
1. มีอาการระคายเคืองหรือปวดถ่วงในทวารหนักหลังการรัด อาการไม่รุนแรงมากนักและกินเวลานานประมาณ 24-48 ชั่วโมง รักษาโดยให้ยาระงับปวด
2. มีเลือดออกเมื่อหัวริดสีดวงหลุด เกิดขึ้น 3-7 วัน หลังการรัด มักออกไม่มากและมักจะหยุดเองได้
3. หัวริดสีดวงอาจอักเสบ บวม เจ็บ และย้อยออกมาได้
4. อาการข้างเคียงที่พบได้น้อยแต่รุนแรงมาก ได้แก่ ภาวะติดเชื้อบริเวณทวารหนัก ผู้ป่วย จะมีอาการปวดบริเวณทวารหนัก ไข้สูง และปัสสาวะไม่ออก ภาวะเช่นนี้อาจจะรุนแรงมากจนผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ ควรรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ยาวหน่อยอ่ะนะ

คืออ่านไปอ่านมาไม่ยักจะมีอธิบายโต้งๆ ถึงเรื่อง prevention recurrent hemorrhoid อ่ะ
(กรรม..ที่พิมกันไป -_-!)

เราว่ามันยาวไปแร้ว แต่เรายังพิมน้ำไม่มีเนื้ออยู่เรย 55 โปรดอย่าถือสา เดี่ยวมามั่วต่อ

Worathima8585 said...

แต่ก็นั่นล่ะไปเจอ paper นี้เข้า

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?Db=pubmed&Cmd=ShowDetailView&TermToSearch=7046318&ordinalpos=1&itool=EntrezSystem2.PEntrez.Pubmed.Pubmed_ResultsPanel.Pubmed_RVAbstractPlus

topic :Comparison of rubber band ligation and sclerosant injection for first and second degree haemorrhoids-- a prospective clinical trial.

เป็น prospective clinical trial.

สรุป (ด้วยความยากลำบากจาก abstract)

- ใช้ ผู้ป่วย random ทั้งหมด 50 คน เป็น first or mild second degree haemorrhoids
แบ่งเริ่มแรก sclerosant injection 26 คน และ rubber band ligation 24 คน

- 1 ปี หลังรักษา ประเมินลดจำนวนลงฝากละสองคน
- 3ใน7ของผู้ป่วยริดสีดวงที่ฉีด sclerosing และ5ใน7ของคนที่ทำrubber band ligation จะบรรเทาริดสีดวงไ ด้
- rubber band ligation บรรเทาปวด 10 ใน14 คนแต่ sclerosing บรรเทาปวดไปคนเดียว(p less than 0.05)
- อย่างไรก็ตามวิธี rubber band ligation ก็จะดูอีดอัดมากกว่าหน่อยอ่าน้า (นึกภาพตอนเห็นใน OPD ดิ อัยหยา >_<)

และ****** (ในที่สุด >_<)
- ผู้ป่วย6คนในกลุ่มที่ฉีด sclerosing พบการเกิดริดสีดวงใหม่ภายใน1ปีหลัง Follow up (p less than 0.05)

คือนี่ก็ไม่รู้แปลถูกมั้ย 555
แต่ก็นั่นแร่ะ ประมาณนั้นละนะ

rubber band ligation จึงน่าจะตอบคำถามเคสนี้ ได้ดีกว่า sclerosing ด้วยประการระฉะนี้ ตามความเห็นของข้าพเจ้า...

(เพื่อนเค้ารู้กันตั้งนานแร้วววว >_<)

Worathima8585 said...

เพิ่มเติม
บอกที่มาให้เค้าหน่อย
หาข้อมูล จาก pubmed นะค่ะ
คำค้นหา
rubber band ligation + sclerosant injection

อืมยาวหน่อยอ่ะนะ
เอ้ เราตั้งใจกับเรื่องก้นในเคสคุณมากกไปป่าวค่ะโบว์
พิมสะ >_<
ทนอ่านไปหน่อยน้า