Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


08/07/2007

Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Assignment I

Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Evidence Based Medicine in Hatyai Hospital,Thailand: Assignment I
Diagnosis (นศพ ฟ้าใส ภักดิกมล)
ผู้ป่วยหญิงไทยคู่อายุ 50 ปี
CC. มีอาการปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อยมา 3 เดือนก่อนมารพ.
PI. 3 เดือนก่อนมารพ มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางคืน ประมาณคืนละ 5 – 6 ครั้ง แต่ลักษณะปัสสาวะปกติดี ไม่มีฟอง สีใส ไม่มีอาการแสบขัด ไม่มีไข้ และมีอาการหิวน้ำบ่อยร่วมด้วย ไม่ทราบสาเหตุไม่มีอาการปวดศีรษะ ตามัว ชาตามปลายมือปลายเท้า ปวดท้อง หายใจหอบหรือซึมลงร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีอาการเช่นนี้มาก่อน เคยมาตรวจ เมื่อ 3 เดือนที่แล้วระดับน้ำตาลในเลือดขณะยังไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ผลปกติดี
PH. ปฏิเสธโรคประจำตัว
ปฏิเสธการแพ้ยาแพ้อาหาร ไม่ได้รับประทานยาอะไรเป็นประจำ
FH. มารดาเป็นโรคเบาหวาน บุคคลในครอบครัวสนิทสนมกันดี
PH. ภูมิลำเนา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประกอบอาชีพ ค้าขายของชำที่บ้าน
การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ชอบรับประทานอาหารหวาน และประเภททอด ไม่รับประทานอาหารเค็ม เป็นผู้ทำอาหารเอง
ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเนื่องจากต้องขายของที่ร้านตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น
PE. V/S BT 37 C, BP 130/70 mmHg, RR 20/min, PR 62/minGA:Good conciousness obese woman (Body weight 80 Kg Height 168 cm BMI 28.4Kg/m2)HEENT: not pale conjunctiva, no icteric scleraHEART and LUNG: WNLABDOMEN: soft, not tender , no guardingEXTREMITIES: no lesion
NEURO : normal sensory
Investigation. FPG 115 mg/dL , UA normal
PICO
Problem ความแม่นยำการวินิจฉัยเบาหวานโดย Fasting plasma glucose มากกว่าเมื่อเทียบกับ Oral glucose tolerance test หรือไม่
Intervention การทดสอบ Fasting plasma glucose กับ Oral glucose tolerance test
Comparison Oral glucose tolerance test
Output การทดสอบ Fasting plasma glucose เป็นการวินิจฉัยโรคเบาหวานได้แม่นยำกว่า

2 comments:

ning said...

การตรวจวินิจฉัยเบาหวานด้วย FPG (คุณภาพหลักฐานระดับ C, คำแนะนำระดับ 1A) โดยไม่แนะนำให้ทำ OGTT เพราะไม่สะดวก ราคาแพงกว่า reproducibility ด้อยกว่า แม้ความไว (sensitivity)ในการรักษาเบาหวานและภาวะ pre diabetic มากกว่า FPG
เอาวิธีการทำ OGTT มาฝากด้วยนะ
การทำ OGTT ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะมีปัจจัยหลายอย่างต่อการแปลผล ให้ผู้ถูกทดสอบรับประทานอาหารปกติที่มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 150 กรัมต่อวันอย่างน้อย 3 วัน มีกิจวัตรประจำวันปกติ ไม่เจ็บป่วยหรือ stress ไม่ได้รับยาที่มีผลต่อ glucose tolerance เช่น steroid ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ beta blocker ขณะทดสอบต้องพัก ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มน้ำมากหรือดื่มชา กาแฟ
ขั้นตอน
1. ทดสอบเวลาเช้า และงดอาหารข้ามคืนอย่างคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
2. เจาะเลือด FPG ในตอนเช้า
3. รับประทานกลูโคส 75 กรัม ผสมในน้ำ 250 มล. ในเวลา 5 นาที
4. เจาะเลือดตรวจ plasma glucose ในเวลา 2 ชม.ถัดมา
อ้างอิง….หนังสือ evidence-based clinical practice guideline ทางอายุรกรรม 2548 นะจ๊ะ
Post by นศพ. ขวัญชนก

ning said...

อีกครั้งนะ
การตรวจวินิจฉัยเบาหวานด้วย FPG (คุณภาพหลักฐานระดับ C, คำแนะนำระดับ 1A) โดยไม่แนะนำให้ทำ OGTT เพราะไม่สะดวก ราคาแพงกว่า reproducibility ด้อยกว่า แม้ความไว (sensitivity)ในการรักษาเบาหวานและภาวะ pre diabetic มากกว่า FPG
เอาวิธีการทำ OGTT มาฝากด้วยนะ
การทำ OGTT ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะมีปัจจัยหลายอย่างต่อการแปลผล ให้ผู้ถูกทดสอบรับประทานอาหารปกติที่มีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 150 กรัมต่อวันอย่างน้อย 3 วัน มีกิจวัตรประจำวันปกติ ไม่เจ็บป่วยหรือ stress ไม่ได้รับยาที่มีผลต่อ glucose tolerance เช่น steroid ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ beta blocker ขณะทดสอบต้องพัก ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มน้ำมากหรือดื่มชา กาแฟ
ขั้นตอน
1. ทดสอบเวลาเช้า และงดอาหารข้ามคืนอย่างคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
2. เจาะเลือด FPG ในตอนเช้า
3. รับประทานกลูโคส 75 กรัม ผสมในน้ำ 250 มล. ในเวลา 5 นาที
4. เจาะเลือดตรวจ plasma glucose ในเวลา 2 ชม.ถัดมา
อ้างอิง….หนังสือ evidence-based clinical practice guideline ทางอายุรกรรม 2548 นะจ๊ะ
Post by นศพ. ขวัญชนก