Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


04/07/2008

assignment1:diagnosis นศพ.พรรณนิภา

หญิงไทย อายุ 51 ปี
CC : ปวดท้องน้อยมาก 6 ชั่วโมงก่อนมา รพ.
PI : 1 week PTA มีอาการปวดท้องน้อยตรงกลาง ปวดแบบตื้อ ๆ ปวดตลอดเวลา มีอาการคลื่นไส้แต่ ไม่อาเจียน ไม่มีถ่ายเหลว
1 day PTA ปวดท้องมากขึ้น ปวดที่ตำแหน่งเดิม เริ่มมีไข้ต่ำ ๆ จึงมา รพ.
PH : มีบุตร 4 คน คลอดปกติทุกคน คนสุดท้องอายุ 26 ปี
ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน ไม่มีอาการปวดระดู LMP 19 พค.2551 ( 4 วันก่อน )
ปฏิเสธประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ทานยาสม่ำเสมอ
คุมกำเนิดโดยกินยาคุม ไม่ใช้ถุงยางอนามัย
PE : body temp 37.9 c
abdomen : marked tender at pubic area ,rebound positive
PV : erythema at labia majora , yellowish discharge from vagina , cervical excitation pain both side , adnexal tenderness
Lab : CBC leukocytosis with neutrophilia

Impression : acute PID

Problem : สงสัยว่าการวินิจฉัย PID จากclinical (CDC) นั้น มีความแม่นยำมากน้อยเพียงใด

1 comment:

Jureeporn said...

เราอ่านหนังสือเจอ
เค้าบอกว่าการdiagว่าเป็นPIDอย่างแน่ชัด คือ การทำlaparoscopy ซึ่งจะทำให้เห็นอวัยวะในอุ้งเชิงกรานมีการอักเสบติดเชื้อชัดเจน เช่น เห็นท่อนำไข่มีผนังบวมแดงและมีหนองไหลออกจากปลายfimbriaแต่ก็ไม่ได้ทำทุกรายที่สงสัยหรอกนะ
ส่วนการdiag จาก clinicalเนี่ยอาจทำได้แต่ไม่ค่อยมีอาการจำเพาะจึงอาจจะทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้โดยอาจทำให้เกิดoverdiagnosisได้ ดังนั้นเค้าจึงกำหนดว่าให้diagโดยใช้เกณฑ์หลายๆข้อ >>ตรวจร่างกายและตรวจภายใน2ข้อ+ห้องปฎิบัติการอีก1ข้อ
ตามนี้
PE.1.ไข้>38
2.กดเจ็บที่ท้องน้อยการตรวจภายใน
1.กดเจ็บที่ปีกมดลูกข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง
หรือโยกปากมดลูกแล้วเจ็บ
2.มีก้อนหรือถุงน้ำคลำได้ที่cul-de-sac
3.มีหนองไหลจากปากมดลูก
LAB
1.CBC:leucocytosis>>WBC>10,000
2.gram stainหนองจากปากมดลูกแล้วพบ
WBCมากหรือพบ gram negative
diplococi
3.ESRสุง

เราว่าถ้ามีเกณฑ์การวินิจฉัย แม้ว่าจะอาศัยclinical diagnosis ก็น่าจะแม่นยำขึ้น