Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


04/07/2008

Diagnosis,นศพ อมีนา อุสมา 4725154

หญิงไทยคู่ อายุ 31 ปี, G1 GA 29๋¹ wks by LMP

CC : ปวดท้อง 10 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
PI : 10 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการปวดท้องเล็กน้อย ปวดทั่วๆ ปวดแบบบีบๆเป็นพักๆร่วมกับแน่นหน้าอกและบริเวณใต้ลิ้นปี่ ไม่มีท้องเสีย อุจจาระตอนเช้าปกติ ลักษณะและปริมาณเหมือนทุกวัน แต่หลังจากมีอาการปวดท้องก็ไม่ผายลมอีกเลย ไม่มีไข้ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน รับประทานอาหารได้ปกติ ไม่มีอาการเจ็บครรภ์เหมือนจะคลอด หรืออน้ำเดิน หลังจากนั้นปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ อาการไม่ดีขึ้น
3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล เริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน 1 ครั้ง เป็นอาหารที่กินเข้าไป หลังจากนั้น ปวดท้องมากขึ้น จึงมาโรงพยาบาล
PH: เคยเข้ารับการผ่าตัดลำไส้ เมื่อปี2543 ตอนนั้นมีอาการปวดท้องแบบบีบๆเป็นพักๆหลังจากนั้นจึงมีอาการปวดทั่วๆท้อง มาโรงพยาบาล แพทย์บอกว่าลำไส้อักเสบต้องผ่าตัดและได้ตัดไส้ติ่งไปด้วย หลังจากผ่าตัดปกติดีมาตลอด
ปฏิเสธประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร ปฏิเสธการสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ปฏิเสธประวัติโรคประจำตัว หรือการใช้ยาใดเป็นประจำ ไม่เคยประสบอุบัติเหตุ
MENSTRUAL HISTORY: ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ duration 2-4วัน interval ไม่แน่นอน ใช้ผ้าอนามัยวันละประมาณ 3แผ่น มีอาการปวดประจำเดือนเป็นบางครั้ง
OB&GYN HISTORY
G1P0 GA 29๋¹ wks by LMP, LMP-19/8/50 ,EDC-11/8/51
เคยตรวจมะเร็งปากมดลูก 1 ครั้งตอนตั้งครรภ์
ปฏิเสธประวัติการอักเสบของอุ้งเชิงกรานหรือโรคทางเพศสัมพันธ์
•PERSONAL&FAMILY HISTORY
แต่งงานตั้งแต่อายุ 26 ปี คุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดมาประมาณ5ปี
สามีแข็งแรงดี ปฏิเสธประวัตกามโรค ปฏิเสธโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว เช่น เบาหวาน ลำไส้อักเสบ โลหิตจาง เป็นต้น
ปฏิเสธประวัติการแท้ง หรือตายคลอดในครอบครัว
•SUMMARY OF ANTENATAL RECORD
- ฝากครรภ์ที่คลินิกเอกชน เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 2เดือนครึ่ง ตรวจครรภ์ตามนัด สม่ำเสมอ ขณะตั้งครรภ์ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
-เริ่มรู้สึกเด็กดิ้นเมื่อประมาณ 16 สัปดาห์ เด็กดิ้นดีมาตลอด
-ฝากครรภ์ครั้งแรก Hct.37%, VDRL-NR, OF/DCIP-negative ,Anti-HIV-negative
•PHYSICAL EXAMINATION
VITAL SIGN: BT 37.1°c, PR 86/min, RR 22/min, BP 120/80 mmHg
GENERAL APPEARANCE : thai woman good consciousness
HEENT: not pale ,no jaundice ,thyroid gland not palpable
Heart&LUNGS: WNL
ABDOMEN: FH ¾ above umbilicus
- FHR 142/min
- EFBW 2500 g
-Leopole maneuver : OL
-Abdominal distension ,moderate tenderness ,hyperactive bowel sounds,no guarding
•NO PV
Diagnosis : Intestinal obstruction

ปัญหาในผู้ป่วยรายนี้คือ Investigation ใดที่สามารถส่งเพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะลำไส้อุดตันในหญิงตั้งครรภ์และปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ด้วย

2 comments:

patcharin said...

โดยทั่วไปในคนปกตินั้น เราสามารถที่จะdiag gut obstruction ได้จากการใช้ plain film abdomen และการทำbarium enema ก็เป็นตัวที่ช่วยบอกตำแหน่งที่มีการอุดตัน แต่กรณีคนท้องนั้น การใช้สารรังสีคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นอันตรายต่อทารก แต่การทำplain film นั้น หากว่าทำเพียงครั้งเดียว ไม่น่าจะมีผลใดๆมากนักโดยเฉพาะช่วง second และ third trimester ซึ่งอดีตเมื่อยังไม่มีultrasound ก็ใช้การx-ray เพื่อดูท่าเด็ก และ gut obstruction ก็เป็นภาวะที่ฉุกเฉิน จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำ

Tanawan said...

ในผู้ป่วยทุกราย ทั้งในคนปกติ หรือคนท้อง สิ่งที่ช่วยในการยืนยันการวินิจฉัย gut obstruction
ก็คือ acute abdomen series
ในเรื่องที่กังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่นั้น เท่าที่อ่านมานั้น มีการศึกษาจากjapanese bomb victims ที่ expose ต่อรังสีขณะตั้งครรภ์ สรุปว่า ปริมาณรังสีx-rays ที่สามารถใช้ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ก็คือ ไม่เกิน 5 rad
- ถ้า > 5 rad ทำให้เกิด mental retard
-ถ้า > 10 rad ทำให้เกิด anomaly เช่น mocrocephaly
เเละควรหลีกเลี่ยงการexpose รังสี x-ray ในช่วง GA 10-17 wks เนื่องจากเป็นช่วงที่ sensitive ต่อการเกิดcentral nervous system teratogenesis มากที่สุด

ซึ่งปริมาณรังสีโดยทั่วไปที่ใช้ใน chest x-ray ทารกจะได้รับ 0.00007 rad
abdominal 0.245 rad
ดังนั้นในผู้ป่วยรายนี้สามารถส่ง acute abdomen series ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์เนื่องจากปริมาณรังสีที่ได้รับไม่เกิน 5rad เเละอายุครรภ์ 29 wks เหมาะสมพอที่จะส่งได้ค่ะ

ข้อมูลได้จาก
-safety of radiographic imaging during pregnancy.Kevin S. Toppenberg,M.D.,ect : american family physician .april 1,1999