Wellcome to EBM group

ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค่ะ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการเรียนEvidence Based Medicine ของภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่


Staffs


05/07/2008

Therapy : นศพ.รสิตา สาแหละ

เด็กชายไทย อายุ 9 เดือน
CC : มีไข้ 7 วันก่อนมาโรงพยาบาล
PI : 7 วัน PTA มีไข้ ถ่ายเหลวมากกว่า 10 ครั้ง น้ำปนเนื้อ ไม่มีมูกเลือดปน อาเจียน 4-5 ครั้ง เป็นน้ำลายปนนม ไปพบแพทย์ที่คลินิก บอกว่าเป็น ลำไส้
อักเสบ ได้รับการรักษาให้ norfloxacin , paracetamol , cefaclor syr. , kaopectal syr.
6 วัน PTA มีไข้ ถ่ายเหลวและอาเจียนลักษณะเดิม ไปพบแพทย์ที่คลินิกอีกครั้ง เปลี่ยนยาฆ่าเชื้อ หลังกินยา ยังมีไข้สูง
2 วัน PTA มีไข้สูงตลอด อาการถ่ายเหลวและอาเจียนน้อยลง เริ่มมีผื่นขึ้นตามตัว ไม่ได้สังเกตว่าผื่นขึ้นที่ใดก่อน เห็นก็มีผื่นทั้งตัวแล้ว จึงไป
รพ.ปัตตานี admit Tx. atarax , paracetamol , motilium
1 วัน PTA มีไข้สูงเป็นช่วงๆ เริ่มมีตามแดงทั้ง 2 ข้างไม่มีขี้ตา
วันนี้มีไข้สูงอยู่ ถ่ายเหลวน้ำปนเนื้อ สีเหลือง 4-5 ครั้ง ไม่มีมูกเลือดปน อาเจียนน้ำลายปนนม 4-5 ครั้ง รพ.ปัตตานี refer รพ.หาดใหญ่ จากสงสัย
Kawasaki disease และแพ้ยา
PH : ปฏิเสธประวัติโรคประจำตัว
ปฎิเสธประวัติแพ้ยาและอาหาร
ได้รับวัคซีนตามกำหนดทุกครั้งที่ รพ.ปัตตานี MMR ได้เลื่อนนัดไป จากการมีไข้ครั้งนี้
พัฒนาการปกติ
ประวัติการคลอดปกติดี
PE : GA : A Thai boy , look irritability , good consciousness
HEENT : conjunctivitis both eyes and no exudate , TM intact both ears
pharynx mild injected , tonsil not enlarged
erythematous mouth and no cracked lips
erythematous cheek , no stawberry tongue
right cervical lympnode enlargement 3+3 cm.
H&L : WNL
Abd. : soft , not tender , no hepatosplenomegaly
Ext. : generalized maculopapular rash st trunk and extermities
hands and feet are swelling
no desquamation at palm and sole
Diagnosis Kawasaki disease
Tx. ให้ IV IG
Problem สงสัยว่า การ IV IG มีประโยชน์ในการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคได้มากน้อยเพียงใด

2 comments:

มัลลิกา วงศ์ชนะ said...

กลไกที่ IVIG ได้ผลในการรักษา ยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่า IVIG อาจขัดขวาง Fc receptor โดยการเพิ่มภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคหรือ toxin ควรจะรีบรักษาภายใน 10 วันหลังจากเริ่มมีไข้ มีการศึกษามากมายทั้งที่การศึกษาโดยมีกลุ่มควบคุม และไม่มีกลุ่มควบคุม ล่าสุดรายงานจากสหรัฐ แนะนำ 2 กรัม/กก. ครั้งเดียว แต่การศึกษา Metaanalysis พบว่าถ้าให้ IVIG ขนาดตั้งแต่ 1 กรัม/กก. ขึ้นไป ได้ผลดีกว่าไม่ได้ให้ เนื่องจาก IVIG มีราคาแพงมาก ได้มีรายงานการใช้ IVIG ขนาด 1 กรัม/กก ครั้งเดียวได้ผลดีพอๆ กัน หลังจากให้แล้ว หากอาการไม่ดีขึ้น พิจารณาให้อีก 1 ครั้ง
โดยปกติภายหลังให้ IVIG ร่วมกับ ASA ไข้จะลดภายใน 1-2 วัน และยังพบว่าภายหลังการให้ IVIG coronary aneurysm จะกลับมาเป็นปกติเป็นส่วนมากในภายหลัง
ผู้ป่วยบางรายที่วินิจฉัยได้หลังจากเป็นไข้มาแล้ว 10 วัน สมควรให้ IVIG เนื่องจากมีรายงาน ว่าช่วยลดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ ถึงแม้จะยังไม่มีการศึกษาชนิดมีกลุ่มควบคุมก็ตาม
http://mrw.interscience.wiley.com/cochrane/clsysrev/articles/CD004000/frame.html เป็น review เกี่ยวกับ IVIG for the treatment of kawasaki disease

มัลลิกา วงศ์ชนะ said...

http://mrw.interscience.wiley.com/cochrane/clsysrev/articles/CD004000/frame.html